พะยูง ไม้มงคล หายาก ที่ค้ำพยุงวาสนาบารมีไม่ให้มีได้ตกต่ำ

ชื่อภาษาอังกฤษ

Siamese Rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dalbergia cochinchinensis Pierre

ความหมาย

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่โดยมีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน

ความเชื่อ

หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย

พะยูง อังกฤษ Siamese Rosewood

พะยูง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE 

พะยูง เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล พะยูง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และ ประเทศไทย พบกระจัดกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้ง ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 100-300 เมตร ทาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบัน มีผู้นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในบ้านด้วยความเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านได้รับการสนับสนุนค้ำจุนจากผู้มีบารมี เหมือนดั่งชื่อพะยูง นั่นเอง 

ต้นพะยูงกับความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้มงคล

พะยูง เป็น 1 ใน 9 ชนิดของ “ไม้มงคล” ที่ใช้ในพิธีการสำคัญๆ อย่างการวางศิลาฤกษ์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าชื่อพะยูงเป็นมงคล คือการประคองให้อยู่ในสภาพปกติ ช่วยให้ทรงตัวได้ พยุงฐานะให้ดีขึ้น ค้ำจุนให้มั่นคง จึงมีความเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพะยูงไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย และต้นพะยูงยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว ความสวยงามของเนื้อไม้ตามธรรมชาตินั้น ยังเป็นที่ถูกอกถูกใจคนชื่นชอบงานไม้  ด้วยลวดลายเส้นวงปีตามลำต้น ยิ่งลำต้นคดงอก็ยิ่งทำให้เกิดลวดลาย สีเนื้อไม้แดงเข้มจนอมม่วง กระพี้สีขาว เรียกว่า เนื้อไม้พะยูง สวยยิ่งกว่าไม้ใดๆ หลายเท่านัก จึงเป็นไม้เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด

ควรปลูกต้นพะยูงบริเวณใดของบ้าน

ต้นพะยูงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงได้ถึง 25-30 เมตร จึงควรปลูกให้ห่างจากตัวอาคารไม่น้อยกว่า 5 เมตร ควรปลูกต้นพะยูงในวันเสาร์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวผู้ปลูก ผู้ปลูกควรเป็นชาย เพราะพยุงเป็นชื่อที่เหมาะสำหรับผู้ชายยิ่งถ้ารับราชการยิ่งเหมาะสม อีกทั้งแก่นไม้พยุงก็มีความแข็งแกร่งทนทานจึงเปรียบเทียบได้กับความแข็งแรงของผู้ชายนั่นเอง  

ส่วนประกอบของต้นพะยูง

ต้นพะยูง

จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน 

ต้นพยุงไทย

ใบพะยูง

เป็นช่อติดเรียงสลับกัน ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเหนียวคล้ายกับแผ่นหนังบางๆ

พะยูง ประโยชน์

ดอกพะยูง

ดอกพยูงมีขนาดเล็ก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวนวล มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ดอกพยูง

สายพันธุ์ต้นพะยูง

ในปัจจุบันไม้พะยูงจัดเป็นไม้หายาก เนื่องจากในเวลานี้ไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น และกำลังเผชิญกับสภาวะที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ ส่วนในประเทศอื่น ๆ อย่างประเทศลาวที่เคยมีมากก็หมดไปแล้ว ดังนั้นสายพันธุ์ของต้นพะยูงที่มีอยู่ตอนนี้จะเป็นสายพันธุ์ไทยดั้งเดิมเท่านั้น

วิธีการปลูกต้นพะยูง

วิธีการปลูกต้นพะยูง นั้นอันดับแรกเริ่มจากไถเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก โดยให้ขุดหลุมเท่าขนาดถุงกล้าไม้ หรือต้นที่ซื้อมา หากต้องการปลูกหลายต้นในบริเวณใกล้เคียงกัน ให้ทิ้งระยะห่างระหว่างต้นไม่น้อยกว่า  หลังปลูก 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา ต้นละ 1 ช้อนแกง 

วิธีการดูแลต้นพะยูง

การบำรุงดูแลรักษาต้นพะยูง มีวิธีปฏิบัติไม่แตกต่างจากการดูแลพรรณไม้ยืนต้นชนิดอื่น ๆ 

  • แสง พะยูงเป็นไม้ยืนต้นที่ต้องการแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน ควรปลูกในที่โล่งแจ้งได้รับแสงเต็มที่ ลมพัด ผ่านได้สะดวก 

  • น้ำ  ในช่วงเริ่มปลูกใหม่ๆ 6 เดือนแรกควรมีการให้น้ำ อาทิตย์ ละ 2-3 ครั้ง และ จากนั้น ก็สามารถอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติได้ หรือหากสภาวะอากาศร้อนและแล้งจนเกินไป ควรมีการให้น้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นตามสมควร

  • ดิน  เนื่องจากพะยูงเป็นไม้ที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติตาม ป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้ง จึงควรดูแลดินไม่ให้มีความแห้งหรือชุ่มจนเกินไป ดินควรมีความโปร่งระบายน้ำได้ดี 

  • ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในระยะที่ต้นไม้ยังเล็กมีความสำคัญมากเพราะยังอยู่ในภาวะที่ต้องแก่งแย่ง สารอาหารกับพืชอื่นๆ ในบริเวณข้างเคียงที่ปลูก ควรใส่ปุ๋ยคอกโดยโรยรอบโคนต้นทุกๆ 6 เดือน หรือ ปี ละ 3 ครั้ง ในช่วง 3-5 ปีแรก 

ประโยชน์หรือสรรพคุณอื่นๆของต้นพะยูง

พะยูง ประโยชน์เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ที่ให้ร่มเงาได้ดี เหมาะกับการใช้งานด้านภูมิทัศน์ สามารถปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงาในบริเวณบ้านได้ เนื่องจากมีพุ่มใบละเอียดและมีดอกหอม จึงสร้างบรรยากาศที่สดชื่นแต่ไม่รกได้เป็นอย่างดี นอกจากจะปลูกไว้ในบ้านเพื่อให้ร่มเงาและความหมายที่เป็นสิริมงคลแก่เจ้าของแล้ว  คุณสมบัติเด่นของไม้พะยูงอยู่ตรงความที่เป็นไม้ที่มีเนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว จึงมีผู้นิยมนำไปใช้ทำเครื่องเรือน โต๊ะหมู่บูชา หิ้งพระ หรือใช้ทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็ก ๆ เช่น เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว ตัวปี่เซียะ มากมายเพราะ มีเอกลักษณ์ลวดลายในเนื้อไม้ที่โดดเด่นงดงาม และเป็นไม้ที่เป็นสิริมงคล ของสูง

ราคาต้นพะยูงต่อต้นโดยประมาณ 

พะยูงเป็นไม้เศรษฐกิจ ที่ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนให้มีการปลูกเพื่อเพิ่มจำนวนและป้องกันการสูญพันธุ์ จึงสามารถติดต่อขอรับกล้าพันธุ์ไม้ได้ฟรีจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถหาซิ้อกล้าพันธุ์ได้ในราคาจำหน่ายถุงละ 30-50 บาท สำหรับต้นกล้าพันธุ์ขนาดไม่เกิน 50-60 ซม.

 พยุง

ทำไมไม้พยุงจึงเป็นไม้ที่มีราคาสูงที่สุดในโลก

ในปี พ.ศ.2551 ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค จีนต้องการประกาศให้ชาวโลกรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศ ความพร้อมด้วยศักยภาพในทุกๆด้าน และรู้ดีถึงลวดลายที่สวยงามและความคงทนของเนื้อไม้พะยุง อันเป็นที่มาของความต้องการไม้พะยุงเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปซ่อมแซมบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและปราสาทราชวังต่างๆของจีนด้วยปริมาณความต้องการไม้พะยุงทีเป็นจำนวนมาทำให้ไม้พะยุงมีราคาสูงขึ้นมากหลายเท่าตัว จึงไม่สามารถนำไปสร้างเฟอร์นิเจอร์ได้ ชาวจีนจึงหันมานิยมนำมาทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็กๆ เช่น “ปี่เซียะ” “เทพเจ้าฮก ลก ซิ่ว” หรือ “เทพเจ้ากวนอู” แจกัน เป็นต้น
จึงทำให้ไม้พะยุงเป็นที่นิยมเรื่อยมาและมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันนี้..” ไม้พะยุงเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก “

  ไม้พยุง

มูลค่าของไม้พะยูงเก่าหลังแปรรูป

จากการต้องการไม้พะยุงทำให้ไม้พะยุงในป่าประเทศ ลาวและกัมพูชา…สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ในเมืองไทยที่ยังเป็นเจ้าของผืนป่าพะยุงที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ไม้พะยุงที่พบในเมืองไทยนั้นจะพบขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณเทือกเขาภูพานและเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งแต่นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อุบลราชธานี ศรีษะเกศ สุรินทร์และบุรีรัมย์ โดยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามแนวชายแดน ไทย – ลาว และไทย – กัมพูชา

จึงเป็นเหตุผลให้ราคาไม้พะยุงที่แพงลิบลิ่ว และทำให้ให้มีการลักลอบตัดมากขึ้น เพราะราคาที่ราคาสูงถึงลูกบากศ์เมตรละกว่า 40,000 บาท ไม้พะยุง 1 ท่อน ขายในไทยได้ราคาเพียง 150,000 บาท แต่เมื่อส่งไปขายตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ราคาจะเพิ่มขึ้นเกือน 10 เท่าตัวแต่ทางการจะยอมให้ตัดและชักลากออกมาทำสินค้าได้ ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน และไม่อนุญาตให้ส่งออก

ไม้เก่า

ไม้พะยูงเก่า แปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง

ด้วยเพราะไม้พยุงเป็นไม้ที่มีเนื้องแข็งและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทนต่อศัตรูที่ทำลายเนื้อไม้ได้อย่างดี ทั้งนี้เนื้อไม้ที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม โดยเนื้อไม้พะยูงมีความละเอียด เหนียวแข็งทนทานและชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัวจึงมักใช้ทำเครื่อง เรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำเป็นเสาบ้าน ไม้พื้น หรือไม้ฝ่า อย่างที่ two man wood ที่มีไม้แปรรูปชนิดต่างๆ ทั้ง ไม้สน ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้สัก และอื่นๆ ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปสร้างบ้าน ปูพื้น ทำบันได ที่ขนาด  2” , 1.5” 1”  ไม้พื้น ไม้ฝา เสา หรือนำไปสร้างสรรค์งานต่างๆ อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ แบบจำลอง หรือของเล่นไม้ ใช้ในการแกะสลักและทำด้ามเครื่องมือต่าง ๆ   ในกรณีของไทย ใช้ทำเกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด เป็นต้น

จากทั้งหมดคงพอเข้าใจหรือทำให้หลายคนหายสงสัยว่าทำไมนะ ไม้พยุงจึงมีราคาสูง และทำไมจึงมีหลาย ๆคนหันมาปลูกเป็นไม้เศรฐกิจกันมากขึ้น ไม้พะยูง ความสวยงามของเนื้อไม้ตามธรรมชาตินั้น อยู่ที่ลวดลายวงปีที่ถี่ยิบ เนื่องจากการเติบโตปีละนิดๆ ลำต้นส่วนใหญ่คดงอก็ยิ่งทำให้เกิดลวดลาย สีเนื้อไม้แดงเข้มจนอมม่วง กระพี้สีขาว เรียกว่า เนื้อไม้พะยูง สวยยิ่งกว่าไม้ใดๆ หลาย

ที่มา

http://www.nongbualamphu.go.th

http://www.sisaket.go.th

https://twomenwood.com/ชนิด-ของ-ไม้/พยุง

อยากให้มีเนื้อหาเรื่องอะไรเพิ่มเติม หรือมีความคิดเห็นอย่างไร เชิญคอมเม้นท์ไว้ได้เลยครับ