สนบลู (Lawson’s cypress) เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้ที่นักจัดสวนต้องไม่มองห้ามเด็ดขาด เพราะมีรูปทรงที่เป็นเสาร์สามเหลี่ยมตรงสวย เหมาะเอาไปประดับสวนสไตล์อังกฤษ หรือจัดตามมุมต่างๆในบ้าน แต่ก็ต้องบอกเลยว่าข้อมูลในการปลูก ดูแลต้นสนบลูให้สวยงาม หรือจะเป็นลักษณะต่างๆและเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับต้นสนบลูยังคงมีไม่มากนัก วันนี้ kaset.today จึงอยากจะมาไขทุกข้อสงสัยของนักอ่านหลายท่านให้ได้เข้าใจ และสามารถเอาไปปรับใช้ในการปลูกสนบลูได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลทั่วไปของสนบลู
ชื่อภาษาอังกฤษ : Chamaecyparis lawsoniana / Lawson cypress, Port Orford cedar (English, United States)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chamaecyparis lawsoniana (A.Murray bis) Parl.
ชื่อชั้น : Equisetopsida C. Agardh
ตระกูล : Cupressales Link
ชื่อวงศ์ : Cupressaceae Gray
ชื่อสกุล : Chamaecyparis Spach
ชื่อพ้อง :
Chamaecyparis allumii (Webster) Heydt
Cupressus fragrans Kellogg
Cupressus lawsoniana A.Murray bis
Cupressus nutkanus Torr.
Retinispora lawsoniana (A.Murray bis) A.V.Bobrov & Melikyan
ความเชื่อ
มีหลายคนถามมาว่าปลูกต้นไม้อะไรดี ที่จะเสริมดวงชีวิตให้มีแต่เรื่องดีๆเข้ามา ทำอะไรก็สำเร็จ หรือปลูกต้นไม้อะไรที่ส่งเสริมให้คนในบ้านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง วันนี้เรามานำเสนอต้นสนบลู ที่จะเสริมดวงปลูกต้นสน จะให้พลังชีวิต ถ้าต้องการอายุยืนให้ปลูกต้นสน ถ้าปลูกทางทิศตะวันตกของบ้าน จะถือเป็นเรื่องดีอย่างยิ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นสนชนิดใด เมื่อนำมาปลูกก็จะส่งเสริมด้านสุขภาพทั้งนั้น
ความเป็นมาของสนบลู
บางทีการที่เราจะซื้อต้นไม้สักต้นมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน การได้รู้ที่มาของมันก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อย่างเช่นเรื่องของต้นไม้ในวันนี้ที่เราอยากจะมาบอกเล่า คือ Chamaecyparis lawoniana Port Orford cedar เป็นไซเปรสหรือต้นสนที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์โดย ลอว์สัน
มีถิ่นกำเนิดในเทือกเขาชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ ได้ถูกนำไปยังโปแลนด์ตั้งแต่ช่วงปี 1870 และด้วยความแปรปรวนสูงภายในสปีชีส์ จึงมีการคัดเลือกพันธุ์หลายร้อยสายพันธุ์ ซึ่งมีความแข็งแรงในการเจริญเติบโต ลักษณะนิสัยการเจริญเติบโต สี และที่สำคัญที่สุดคือต้านทานการแข็งตัวของน้ำแข็ง
Chamaecyparis lawoniana, Port Orford cedar ได้ถูกพัฒนาในเรือนเพาะชำของชาวดัตช์ที่ชื่อ Jan Spek ในปี 1940 ซึ่งในปัจจุบันเป็นพันธุ์ไซเปรสของ Lawson ที่ได้รับความนิยมและสวยงามมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง
ถิ่นกำเนิดและแหล่งกระจายพันธุ์
จากที่เราไปศึกษาข้อมูลจากอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จึงรู้มาว่าต้นสนบลูนั้นแท้จริงแล้วมีถิ่นกำเนิดจากอเมริกา (California, Oregon) และยังมีการกระจายสายพันธุ์ไปยังออสเตรเลีย, เบลเยียม, เชโกสโลวาเกีย, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศษ, เยอรมัน, ไอร์แลนด์,อิตาลี,นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี และประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า เพราะสนบลูสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศบ้านเราได้ ทำให้เรามักจะเห็นสวนขายสนบลูมีมากในภาคกลางและภาคเหนือ
ลักษณะสนบลู
- ลำต้น
จัดเป็นประเภทไม้พุ่ม ซึ่งพุ่มมีความกว้างประมาณ 0.6-1 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเสาแคบตั้งตรง โดยตามปกติทั่วไปจะมีความสูงได้ทั้งระดับปานกลางไปจนถึงสูงมากตั้งแต่ 2-10 เมตร ที่ลำต้นจะมีเปลือกสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ ขณะที่ต้นยังเล็กจะมีการแตกกิ่งก้านเป็นลักษณะคู่ตรงข้ามกัน ฉะนั้นจึงทำให้รูปทรงเมื่อเป็นต้นเล็กออกจะแบนๆ เปลือกต้นมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเป็นเส้น ๆ ถึงเป็นสะเก็ดเป็นแถบแนวตั้ง
- ใบ
ใบเป็นจำพวกใบเดี่ยวในแบบเรียงเวียนและสลับ เป็นขนนก เติบโตในลักษณะแบนราบ มักมีสีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย มีลักษณะเรียวเล็ก ปลายใบจะแหลมและมีความอวบปนหนา ผิวใบมีลักษณะเกล็ด ยาว 0.15 นิ้ว (3–5 มม.) ซ่อนกิ่งก้านเป็นระนาบแบน ยกขึ้น
จะเห็นใบเป็นสีฟ้าเขียวในที่ร่ม ด้านล่างของกิ่งจะสว่างกว่าและมีเส้นที่ชัดเจนซึ่งเกิดจากการเคลือบขี้ผึ้งสีขาว ตัวใบจะอยู่ในรูปแบบของเกล็ดสีเทาสีน้ำเงินที่อยู่ติดกันทำให้พืชทั้งหมดมีเขียวอมฟ้า หลังจากบดแล้วจะมีกลิ่นแรง กลิ่นฉุนเหมือนผักชีฝรั่ง
- ดอก
ดอกไม้ขนาดจิ๋วซึ่งดูเหมือนดอกตูมจะเปิดที่ปลายกิ่งในฤดูใบไม้ผลิ ดอกตัวผู้เป็นสีแดงเข้ม มีเกสรเป็นสีเหลือง ตัวเมียเป็นสีน้ำเงิน โคนเรณูยาว 0.14 นิ้ว (3 – 4 มม.) สีแดงเข้ม เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหลังจากปล่อยเรณูในต้นฤดูใบไม้ผลิ
- ผล
โคนสุกงอมจากดอกเพศเมีย เริ่มเป็นสีเขียว แล้วเปลี่ยนเป็นสีครีม และสิ้นสุดเป็นสีน้ำตาลในที่สุด มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วที่มีเกล็ดกว้าง มีกลีบ 5-9 กลีบ มีนวล ข้างในมีเมล็ด เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-12 มม.
- เมล็ด
โคนเมล็ดมีลักษณะกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 ถึง 0.5 นิ้ว (7-14 มม.) และประกอบด้วยเกล็ด 6 ถึง 10 เกล็ด ตอนแรกมีสีเขียว ต่อมาสุกเป็นสีน้ำตาลในต้นฤดูใบไม้ร่วง 6 ถึง 8 เดือนหลังการผสมเกสร
การขยายพันธุ์สนบลู
การขยายพันธุ์ของ ต้นสนบลู สามารถทำได้โดย การปักชำกิ่ง ซึ่งวิธีการก็ไม่ยากนัก
- ขั้นแรกให้เลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์ไม่แก่มาก และใช้มีดที่คมๆ ตัดกิ่งขนาดประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือตามความต้องการในลักษณะเฉือนทะแยง
- แล้วนำไปปักชำในน้ำยาเร่งราก 15-20 นาที ก่อนจะเตรียมดินร่วมผสมพีทมอสและใส่ดินลงไปในภาชนะที่มีฝาปิด ซึ่งควรกะปริมาณดินให้เหมาะกับภาชนะและขนาดของกิ่ง แนะนำให้ใช้ขุยมะพร้าวเพราะลดการเกิดราได้ และสะอาด (ควรแช่ขุยมะพร้าว 1-2 วันก่อนใช้)
- จากนั้นก็ปักชำกิ่ง (ควรเว้นระยะห่างตามความเหมาะสมกับภาชนะและจำนวนกิ่ง) พรมน้ำให้ชุ่มพอประมาณ ปิดฝา ทิ้งไว้ประมาณ 25-30 วัน แล้วให้ทำการเช็คการงอกของราก เมื่อมีรากงอกก็ให้ย้ายไปปลูกในดินที่ระบายน้ำได้ดีต่อไป
การปลูกและดูแลต้นสนบลู
การปลูก
- แสงแดด
โดยให้ปลูกหรือจัดวางในที่ที่มีแสงแดดตลอดทั้งวันหรือบริเวณที่มีแสงแดดครึ่งเช้า-ครึ่งบ่าย
- น้ำ
ให้รดประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะต้นสนเป็นไม้ทนแล้งจึงต้องการน้ำไม่มากนัก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากในช่วงกลางวันมีแดดมากแดดแรง ก็ควรรดตอนเย็นเพื่อป้องกันการได้รับน้ำไม่เพียงพอ
- ดิน
ควรเป็นดินที่การระบายน้ำดีปานกลางถึงมาก วัสดุปลูกที่มีวัตถุอินทรีย์สูง หรือจะใช้เป็นดินร่วนปนทราย แต่ก็ควรใส่กาบหรือขุยมะพร้าวเพื่อกักเก็บความชื้นได้ด้วย
- ปุ๋ย
สามารถใช้ปุ๋ยได้ทั่วไป ยกเว้น “ปุ๋ยคอก” เนื่องจากมีความเค็มที่อาจจะทำลายรากของต้นสน สามารถให้ปุ่ย 13-13-13 สูตรเสมอได้
การดูแล
- โรค
เรื่องโรคและศัตรูของการปลูกต้นสน ตามปกติแล้วมักไม่ค่อยจะถูกแมลงรบกวนเท่าไร แต่ก็อาจจะมีบ้างเล็กน้อยจากแมลงจำพวกเพลี้ยแป้งหรือมดบางชนิด ซึ่งก็สามารถดูแลได้ไม่ยาก ส่วนโรคที่เห็นบ่อยจะเป็น
1. โรคใบเน่าและใบแห้ง ที่เกิดได้จากเชื้อรา ซึ่งสาเหตุมาจากมีความชื้นสูงและได้รับแสงแดดจัดเกินไปกับได้รับน้ำไม่เพียงพอ ดังนั้นสมควรจะดูแลเรื่องปริมาณน้ำกับการรับแสงแดดให้ดี
2.โรครากเน่า โรคนี้จะต้องดูแลเรื่องดินที่ปลูก ควรจะเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี
ต้นสนบลูปลูกแล้วมีประโยชน์ยังไง
ด้านประโยชน์ของ ต้นสนบลู นั้น เราก็คงจะพอทราบกันบางแล้วว่า ต้นสนโดยทั่วไปได้รับความนิยมสำหรับนำไปเป็นไม้ประดับตกแต่งและจัดสวน ต้นสนชนิดนี้ก็เช่นเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่งเป็นต้นสนที่มีสีเป็นเอกลักษณ์ใครเห็นใครก็ชื่นชอบผู้คนจึงเสาะหาไปไว้ในครอบครอง
สำหรับสไตล์การตกแต่งและจัดสวนตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบเป็นหลักกับพื้นที่ของบ้านเรือน หากจะให้แนะนำ ต้นสนบลู น่าจะเหมาะกับสไตล์ที่เป็นอังกฤษที่ดูคลาสสิก เน้นในเรื่องความเป็นธรรมชาติและการผสมผสานพรรณไม้หลายชนิดให้เข้ากันพร้อมทั้งตกแต่งด้วยข้าวของหรือวัสดุ
- การนำประติมากรรมปูนปั้นที่มีสีขาวไปตั้งข้างๆต้นสนทำให้ดูคลาสสิก
- นำสนบลูไปปลูกข้างๆน้ำพุหรืออ่างน้ำ จะช่วยเสริมความสดชื่นในสวนของคุณ
- การมีโต๊ะเก้าอี้สนาม โดยเลือกสีขาวนำสนบลูไปวางขนาบข้างทั้ง 2 ด้านจะช่วยให้เติมกลิ่นอายความเป็นผู้ดีอังกฤษ
- ต้นสนบลูสามารถนำมาปลูกลงดินเพื่อทำเป็นไม้รั้วได้ หรือ หรือปลูกเป็นไม้พุ้มเตี้ยโดยมีความสูงตำกว่ารัวไม้ที่เป็นสีขาว นั้นก็จะทำให้บ้านของคุณมีสีสันขึ้น และสามารถปลูกสลับกับสนชนิดอื่นที่มีสีสันแตกต่างกันก็จะทำให้หน้าบ้านหรือทางเดินของคุณสวยและร่มรื่น
- การเลือกกระถางให้กับสนบลู หากเลือกเป็นสี ส้มอิฐ ขาว หรือ ดำก็จะทำให้ต้นสนบลูเด่นสวยมากขึ้น โดยเฉพาะสีส้มอิฐ ที่สีจะตัดกับไปเขียวฟ้าของต้นสนบลู
- ต้นสนสามารถฟอกอากาศได้ดี เหมาะกับการเอาไปวางไว้ที่ห้องนั่งเล่นหรือระเบียง แต่แนะนำว่าต้องมีแสงแดดส่องถึงอย่างน้อยครึ่งวันด้วยนะ
เกร็ดความรู้ ! คุณรู้ไหมว่าสนทุกสายพันธุ์ส่วนใหญ่มันจะมีกลิ่น แต่จะเกิดขึ้นเมื่อเรานำมาขยี้ หรือบดให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นั้นก็รวมถึงสนสบลู เช่นเดี่ยวกัน โดยในต่างประเทศนั้น ผู้หญิงมักนำใบสนมาปัก หรือปลูกไว้ตามมุมบ้าน และมักเด็กส่วนปลายใบมาขยี้ๆ และวางไว้กลางโต๊ะ หรือบริเวณที่ใกล้เครื่องปรับอากาศ และนั้นก็เป็นไอเดียดีๆที่คุณสามารถเอาไปปรับใช้ได้ แต่เขาบอกว่ากลิ่นมันจะเหมือนกลิ่นผักชีฝรั่ง
เราเชื่อว่าหากใครอ่านมาถึงตรงนี้ ต้องรู้สึกว่าเรื่องสนบลูมีอะไรที่น่าสนใจและเริ่มอยากจะปลูกกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะเรื่องดอกและเมล็ดของต้นสนบลูนั้น คุณต้องไม่รู้แน่ๆ เพราะส่วนใหญ่มักจะเห็นกันตามต่างประเทศ เพราะถ้าพูดกันตามตรง ต้นสนบลูมีถิ่นกำเนิดมาจากต่างประเทศซึ่งมีสภาพอากาศที่แตกต่างจากเรา นั้นทำให้ต้นสนบลูมีความพร้อมในการออกดอกและให้ผลมากกว่า แต่อย่างไร ณ ปัจจุบันต้นสนบลูก็สามารถปลูในไทยได้ง่ายมากขึ้นและเป็นที่นิยมอีกด้วย ในเรื่องของราคานั้น สามารถหาซื้อได้ตั้งแต่ต้นละ 250 บาท เนื่องจากเป็นไม้ที่ค่อนข้างใช้เวลาในการเจริญเติบโตทำให้มีราคาที่สูงนิกหน่อย
และ kaset.today ยังมีบทความดีๆเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ พันธุ์พืช ดอกไม้ ผลไม้ หรือจะเป็นบทความสมุนไพรชนิดต่างๆ และหากคุณเป็นคนรักสัตว์ เราก็ขอแนะนำบทความปศุสัตว์ เราหวังว่าคุณจะไว้ใจและนึกถึงเราทุกครั้งเมื่อคุณความการความรู้เกี่ยวกับการเกษตรนะ
แหล่งอ้างอิง