กระเจี๊ยบเขียว ผักสมุนไพรที่อัดแน่นไปด้วยสรรพคุณต้านทานโรค

หากพูดถึงผักสวนครัวที่นิยมทานคู่กับน้ำพริก กระเจี๊ยบเขียว คงเป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่หลายๆคนนึกถึงอย่างแน่นอน  เพราะสามารถทานได้ทั้งแบบสดหรือจะลวกให้สุกก่อนก็ได้ ไม่เพียงเท่านี้ กระเจี๊ยบฝักเล็กๆแบบนี้ แต่อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้สูงอายุ ดังนั้นบทความนี้จะมาแนะนำกระเจี๊ยบเขียวให้ทุกคนรู้จักกับผักชนิดนี้มากขึ้น

กระเจี๊ยบเขียว ภาษาอังกฤษ
https://puechkaset.com

ลักษณะพฤกษศาสตร์และแหล่งที่มาของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ภาษาอังกฤษคือ Lady’s finger หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus (L.) Moench จัดอยู่ในวงศ์ชบา MALVACEAE นอกจากนี้กระเจี๊ยบเขียวยังมีชื่อท้องถิ่นอีกหลากหลายชื่อ ได้แก่ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือพม่า มะเขือขื่น ถั่วเละ เป็นต้น ต้นกระเจี๊ยบเขียวนั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากแถบประเทศซูดาน ทวีปแอฟริกาตะวันตก ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียวนั้นเป็นพืชล้มลุก มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 0.5-2.4 เมตร อายุของกระเจี๊ยบเขียวนั้นเฉลี่ยประมาณ 1 ปี ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งมีขนาดสั้น ก้านมีสีเขียว และมีจุดประม่วง ตามลำต้น ใบ และผล มีขนอ่อนหยาบๆปกคลุม ใบของกระเจี๊ยบเขียวนั้นเป็นใบเดี่ยว มีทั้งรูปร่างกลมและเกือบกลม หรือจะเป็นแฉกร่องลึก ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อย ด้านนบนใบมีสีเขียวเข้ม ผิวใบมีลักษณะหยาบ สากมือ

ต้นกระเจี๊ยบเขียว
https://www.xn--12cg3cq6bmlr1hc3fujdh.com

ในส่วนของดอกกระเจี๊ยบเขียวนั้น เป็นลักษณะดอกเดี่ยวและสมบูรณ์เพศ ที่สามารถผสมตัวเองได้ หรือจะผสมข้ามดอกก็สามารถทำได้ ดอกแรกมักจะงอกจากข้อที่ 6-8 กลีบ มีกลีบดอกจำนวน 5 กลีบ ตรงกลางของดอกมีสีม่วง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร หากเป็นดอกที่ผสมติดแล้ว กลีบดอกจะฝ่อแล้วค่อยๆร่วงไปใน 3-4 วัน คงเหลือแค่รังไข่ที่จะเริ่มพัฒนาไปเป็นฝักอ่อน ซึ่งเป็นผลของกระเจี๊ยบเขียว เกิดเหนือซอกใบ มีรูปร่างเรียว และมีร่องเหลี่ยมตามแนวยาว ปลายฝักแหลม สามารถพบลักษณะของฝักได้หลากหลาย ทั้งฝักกลม ฝักเหลี่ยม ที่มีจำนวนเหลี่ยมตั้งแต่ 5-9 เหลี่ยม แต่ที่พบบ่อยจะเป็น 8 เหลี่ยม  ตัวฝักมีความยาวตั้งแต่ 4-20 เซนติเมตร เมล็ดมีรูปร่างกลม ขนาดประมาณเมล็ดของนุ่น มีสีขาวอมเหลือง หากเมล็ดเริ่มแก่จะเป็นสีดำมันวาว เมื่อแกะเข้าไปดูจะพบว่าภายในฝักนั้นเมล็ดเรียงเป็นแถวตามแนวยาวของฝักกระเจี๊ยบเขียว โดยทั่วไปนิยมทานผักอ่อนกัน ซึ่งฝักอ่อนนี้จะมีขนาดความยาวที่ประมาณ 7.5-12.5 เซนติเมตร

กระเจี๊ยบเขียว เมนู
https://www.sanook.com

วิธีการปลูกและดูแลรักษากระเจี๊ยบเขียว

การขยายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวนั้น นิยมใช้วิธีหว่านเมล็ด โดยก่อนเริ่มทำการหว่านเมล็ดนั้นต้องมีการเตรียมแปลงปลูกให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยไถดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วทำการตากดินไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้นหว่านปูนขาวหรือปูโลไมท์เพื่อปรับสภาพดินให้มีความเป็นกลาง เติมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเตรียมไว้ แล้วไถยกร่องให้มีความกว้าง 80 เซนติเมตร สำหรับปลูกแปลงเดี่ยว แล้วคลุมด้วยพลาสติก ในส่วนของการเพาะเมล็ดนั้น เตรียมวัสดุเพาะกล้าใส่ถาดหลุม แล้วหยอดเมล็ดลงหลุม โดยหนึ่งหลุมต่อหนึ่งเมล็ด คอยดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ และระวังเรื่องของแมลงที่จะคอยรบกวน หลังจากนั้นเมื่อเมล็ดเริ่มงอกต้นกล้าออกมาได้ 8-10 วัน หรือมีใบจริง2ใบ ให้ย้ายแปลงปลูก แต่ก่อนจะย้ายแปลงปลูกได้นั้น ต้องมีการรดน้ำในแปลงปลูกอย่างพอดีไม่แห้งเกินไปหรือแฉะเกินไป ข้อควรแนะนำคือควรย้ายกล้าของกระเจี๊ยบเขียว ปลูกลงแปลงในช่วงกลางคืนเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ต้นกล้าฟื้นตัวได้ดี เมื่อย้ายลงแปลงปลูกได้ประมาณ 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มสารอาหารแก่ต้นกระเจี๊ยบเขียว หลังจากนั้นเมื่อต้นกระเจี๊ยบเขียวมีอายุได้ที่ 45-50วัน ก็จะสามารถเริ่มทำการเก็บเกี่ยวได้ โดยเลือกเก็บฝักไม่อ่อนมากหรือแก่จนเกินไป และไม่ควรปล่อยตัวฝีกของกระเจี๊ยบเขียวไว้คาต้น เพราะจะทำให้ต้นสามารถผลิตผลผลิตได้ลดลง และตัวต้นจะทรุดโทรมด้วย

กระเจี๊ยบเขียว ปลูก
https://www.technologychaoban.com

คุณประโยชน์และสรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

ภายในฝักของกระเจี๊ยบเขียวนั้นประกอบไปด้วยสารอาหารและวิตามินต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งไฟเบอร์ โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามิเค โปรตีน และสารประกอบกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่ช่วยในการรักษาและป้องกันโรคบางชนิด นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์นั้นสามารถต้านทานอนุมูลอิสระได้ประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้กระเจี๊ยบเขียวยังมีสรรพคุณอื่นๆอีก ได้แก่

  1. บรรเทาอาหารเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย สารสกัดบางตัวจากระเจี๊ยบเขียวนั้นมีส่วนช่วยนการบรรเทาอาการเหนื่อยล้าในแต่ละวันได้
  2. บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน หากใครมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ควรเลือกทานกระเจี๊ยบเขียว เนื่องจากเส้นใยที่อยู่ในฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
  3. ใบของกระเจี๊ยบเขียวนั้นสามารถช่วยรักษาอาการของโรคปากนกกระจอก และช่วยในการขับเหงื่อ
  4. รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากภายในฝักของกระเจี๊ยบเขียวนั้นประกอบไปด้วยสารประเภท เพกทิน (Pectin) และ กัม (Gum) ซึ่งมีคุณสมบัติการรักษาและเคลือบกระเพาะได้ดี และมีงานวิจัยออกมารองรับว่าสามารถให้ผลดีเท่ากับยา Misoprotol
  5. รากของกระเจี๊ยบสามารถรักษาโรคซิฟิลิสได้ โดยการนำรากมาต้มกับน้ำแล้วดื่มตอนยังอุ่นๆ
  6. ฝักของกระเจี๊ยบเขียวสามารถรักษาฝีได้ โดยการนำฝักมาตำให้ละเอียดแล้วทาลงบนฝี
  7. ฝักกระเจี๊ยบเขียวนั้นมีเมือกลื่นที่ให้ความชุ่มชื้น ดังนั้นบางคนจึงนิยมมาพอกที่ผิว เมื่อผิวแห้งหรือแสบ.
กระเจี๊ยบเขียวปั่น
https://www.thairath.co.th

ที่มา

https://www.doctor.or.th

https://hd.co.th

https://researchex.mju.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้