อังกาบหนู สมุนไพรหายาก สรรพคุณมากมาย

อังกาบหนู ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis L.

วงศ์ ACANTHACEAE

ชื่ออื่น ๆ ต้นอังกาบเหลือง เขี้ยวแก้ง เขี้ยวเนื้อ อังกาบ มันไก่ เป็นต้น

อังกาบหนู ถือเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน พบขึ้นหนาแน่นเป็นวัชพืชอยู่ตามเขาหินปูนในที่แห้งแล้งทางภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน พบทั่วไปในทุกภูมิภาคในประเทศไทย เป็นหนึ่งในสมุนไพรท้องถิ่นที่อาจจะมีคนรู้จักไม่มากนัก ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณพบว่า ทางอายุรเวทอินเดียใช้ต้นอังกาบหนูในตำรับยาของอินเดียหลายตำรับ ซึ่งใบอังกาบหนูมีรสเย็น รสเบื่อเมา ซึ่งรสเบื่อเมาในตำรับยาหลายตำรับนิยมนำมาปรุงเป็นตำรายาช่วยรักษามะเร็งอยู่หลายตำรับ เช่น ข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการศึกษาทั้ง 3 ชนิดที่กล่าวมา ซึ่งมีรสเบื่อเมาพบว่าฆ่าเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้ จึงเห็นได้ว่าต้นสมุนไพรที่มีรสเบื่อเมาเกิดจากพิษ แต่การเป็นพิษต่อร่างกายก็จะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งด้วยเช่นกัน ดังนั้นภูมิปัญญาแผนไทย การปรุงยาไม่นิยมทำเป็นสมุนไพรเดี่ยว นิยมทำเป็นยาตำรับผสมสมุนไพรหลายชนิด เพื่อลดพิษของสมุนไพรบางตัวและตัดพิษยาให้ยาสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ต้นอังกาบหนูยังมีสรรพคุณด้านสมุนไพรอีกมากมาย

อังกาบหนู ชื่อวิทยาศาสตร์
www.sanook.com

ลักษณะทั่วไป

  • ลำต้นต้น อังกาบหนูเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีลำต้นเกลี้ยง มีหนามยาวอยู่รอบข้อ หนามมีความประมาณ 1-2 เซนติเมตร
  • ใบ อังกาบหนูมีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบจรดกับก้านใบ ที่ปลายมีติ่งแหลม ขอบใบมีขนแข็ง แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มกระจายอยู่ด้านล่าง ก้านใบมีความยาวได้ประมาณ 2.5 เซนติเมตร
  • ดอก อังกาบหนูออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง (ออกหนาแน่นที่ช่วงปลายกิ่งคล้ายช่อเชิงลดสั้น) มีใบประดับดอกลักษณะเป็นรูปแถบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ใบประดับย่อยเป็นหนาม ติดทน มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกันอยู่ มีขนาดไม่เท่ากัน คู่นอกจะมีขนาดใหญ่กว่า มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ที่ปลายเป็นติ่งหนาม กลีบคู่ในรูปไข่ ปลายแหลมยาว กลีบดอกลักษณะคล้ายรูปปากเปิด หลอดกลีบยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ดอกอังกาบหนูมีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีส้มหรือเหลือง กลีบด้านบนมี 4 กลีบ มีความยาวเท่ากัน หลอดกลีบเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ส่วนกลีบล่างจะมีขนาดเล็กกว่ากลีบบนเล็กน้อย มีเกสรตัวผู้ 2 ก้าน ติดอยู่ที่โคนกลีบดอก ยื่นเลยปากหลอดกลีบเล็กน้อย อับเรณูมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน 2 ก้าน มีขนาดเล็ก มีรังไข่เป็นรูปไข่ มีความประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีช่องอยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลอยู่ 2 เม็ด ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีลักษณะเรียวยาว ยาวกว่าเกสรตัวผู้ ยอดเกสรเป็น 2 พู ไม่ชัดเจนนัก
  • ผล อังกาบหนูลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล รูปไข่แกมรูปขอบขนาน มีความประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ที่ปลายเป็นจะงอย ด้านในมีผลมีเมล็ดแบน ลักษณะคล้ายรูปไข่ มีความยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร และมีขนคล้ายไหมแบนราบ
ลักษณะต้นอังกาบหนู รักษามะเร็ง
medthai.com

วิธีการปลูกต้นอังกาบหนู

ต้นอังกาบหนูนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่จะชอบดินทรายที่ร่วนซุย อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี และมีความชื้นปานกลางเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ต้นอังกาบหนูยังชอบดินเนื้อหยาบหรือดินเนื้อปานกลางที่ไม่ต้องละเอียดมาก แถมชอบดินที่มีความเป็นกรดหรือเป็นกลางมากกว่าเป็นด่าง โดยต้นอังกาบหนูจัดเป็นต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง แต่อาจจะโตช้าสักหน่อยในช่วงแรก ๆ ของการปลูก

การดูแลต้นอังกาบหนู

ต้นอังกาบหนูเป็นต้นไม้ที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยชอบความร่มเงามากเพราะเป็นพืชกลางแจ้ง แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในบริเวณที่แสงแดดจัดเต็มวันหรือแสงแดดร่มรำไร ส่วนน้ำต้องการปานกลาง หมั่นดูแลรดเมื่อดินแห้ง แต่ต้องระวังอย่าให้แฉะเกินไป เรื่องโรคและแมลงไม่ค่อยมีมารบกวน อีกทั้งยังมีขนาดไม่ใหญ่มาก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งทรงบ่อย ๆ ด้วย

ปลูกต้นอังกาบหนู

ประโยชน์และสรรพคุณ

โดยทั่วไปแล้วจะนิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับสวน เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม แต่ในปัจจุบันอังกาบดอกเหลืองนั้นหายากมาก ในอินเดียใช้น้ำคั้นจากใบหรือเคี้ยวสดรักษาปัญญาในช่องปาก เช่น เหงือกเป็นหนอง แผลในปาก ฟันผุ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ หมอยาใช้รักษาแผลภายในและภายนอก เช่น เริม งูสวัด หรือแม้แต่พิษงู สัตว์มีพิษ รวมถึงโรคริดสีดวงทวาร โรคกระเพาะอาหาร หมอยาพื้นบ้านในบ้านเราก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย สารสกัดจากต้นอังกาบหนู มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน มีฤทธิ์ต้านอักเสบ ช่วยลดปวดจากการอักเสบ และนอกจากนี้ต้นอังกาบหนูยังให้สรรพคุณทางสมุนไพรอีกมากมาย และทุกส่วนของต้นอังกาบหนู เช่น

  • ราก ใช้เป็นยาลดไข้ ช่วยบำรุงธาติในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดี ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย ใช้ผสมกับน้ำมะนาวช่วยรักษากลากเกลื้อน ใช้เป็นยาแก้ฝี และสารสกัดจากรากอังกาบหนูมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยมีการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% เนื่องจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลง โดยสารสกัดจากอังกาบหนูนั้นส่งผลต่อการสร้างสเปิร์ม ทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป
  • ใบ ช่วยแก้หวัดด้วยการนำใบมาคั้นกิน ช้ผสมกับน้ำผึ้งช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันและแก้อาการท้องผูก ใช้แก้พิษงู ช่วยรักษาโรคคัน ช่วยแก้อัมพาต รักษาโรคปวดตามข้อ โรครูมาติซั่ม หรือใช้ทาแก้อาการปวดหลัง แก้ปวดบวม
  • ดอก ดอกอังกาบหนูนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีมาก
โทษของอังกาบหนู
decembertown.com

แหล่งที่มา

https://www.dnp.go.th

https://www.rama.mahidol.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้