ไส้เดือนฝอย (nematodes) เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง แต่ในโลกนี้มีไส้เดือนหลากหลายชนิดที่อยู่ทั้งในดิน ทะเล แม่น้ำ กระทั้งในน้ำพุร้อนก็มี ซึ่งถ้าปกติแล้วไส้เดือนที่ทุกคนเห็นจนชินตาคงเป็นไส้เดือนที่อาศัยในดินร่วน มีลำตัวสีดำหรือน้ำตาลอมม่วงเข้ม และคนทั่วไปก็รู้เพียงแค่ว่าไส้เดือนมี่หน้าที่พรวนดินให้กับพืชผัก มูลไส้เดือนที่เราเลี้ยงสามรถนำไปขายเป็นปุ๋ย แต่จริงๆแล้วยังมีไส้เดือนบางสายพันธุ์ที่ยังสร้างความสับสนว่าสายพันธุ์ไหนเป็นมิตรหรือศัตรูกับพืชกันแน่ อย่างเช่นไส้เดือนฝอยที่เรากำลังจะมาค้นหาข้อเท็จจริงไปพร้อมๆกัน
ไส้เดือนฝอย ถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เป็นที่รู้จักกันในวงของเกษตร แต่คนทั่วไปไม่ค่อยทราบกันเท่าไร อาจจะเป็นเพราะรูปลักษณะที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า หรือต้องสังเกตุมากเป็นพิเศษในตัวเต็มวัยที่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ แต่พวกมันก็ยังมีขนาดที่เล็กกว่าไส้เดือนปกติอยู่มาก ในปัจจุบันมีงานวิจัยเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยมากขึ้นซึ่งมีทั้งที่บอกว่าไส้เดือยฝอยดีและไส้เดือนฝอยไม่ดี และมีงานวิจัยที่ทำให้เกิดการเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยที่สร้างรายได้กับกับคนในชุมชน จนเราสามารถเรียกได้ว่าการทำปศุสัตว์ไส้เดือนฝอย และนั้นยิ่งสร้างความสับสนให้กับคนที่อ่านเป็นอย่างมาก แม้แต่ตัว kaset.today เองเมื่อเริ่มหาข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียงเนื้อหาให้เข้าใจมากขึ้น แต่เมื่อศึกษาไปสักพักเราก็สามารถจับจุดสำคัญได้ นั้นทำให้เราอยากจะมาอธิบายสาระดีๆเกี่ยวกับไส้เดือนฝอย ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับไส้เดือนฝอย
ชื่อภาษาไทย : ไส้เดือนฝอย
ชื่อภาษาอังกฤษ : nematodes
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Steinernema sp. Thai strain (สายพันธุ์ไทย), Mylonchulus sp. (ไส้เดือนฝอยตัวหํ้า), Meloidogyne spp. (ไส้เดือนฝอยรากปม)
อันดับ : Mononchida
ไส้เดือนฝอย คืออะไร
ไส้เดือนฝอยจัดอยู่ใน Phylum Nematoda เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างกลมยาวคล้ายเส้นด้าย มีขนาดของลําตัวที่แตกต่างกันตั้งแต่ 300-1000 ไมโครเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์
(อนงค์นุช และคณะ, 2552)
อย่างที่ได้เกริ่นมาตั้งแต่ต้นว่าเราจะมาอธิบายเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยว่าแท้จริงแล้วพวกมันสร้างประโยชน์หรือทำลายผลผลิตทางการเกษตรกันแน่ มีหลายประเทศในโลกที่ใช้ไส้เดือนฝอยในการกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช และในบางประเทศมีประกาศตรวจสอบว่าพืชผักหรือผลไม้ที่จะนำเข้ามานั้นต้องปราศจากไส้เดือนฝอย อ่านแล้วงงไหม?
แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไหนควรเก็บรักษา หรือเพาะเลี้ยงเพื่อสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร หรือไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไหนที่ควรถูกกำจัดไป นั้นทำให้เราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับไส้เดือนฝอยที่เป็นที่พูดถึงในปัจจุบันโดยสามารถแบ่งได้ 3 สายพันธุ์คือ
- Steinernema sp. Thai strain (สายพันธุ์ไทย)
- Meloidogyne spp. (ไส้เดือนฝอยรากปม)
- Mylonchulus sp. (ไส้เดือนฝอยตัวหํ้า)
ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไหนที่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืช
Steinernema sp. Thai strain (สายพันธุ์ไทย)
ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ Steinernema sp. Thai strain (สายพันธุ์ไทย) ซึ่งเราได้ศึกษาจาก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า ไส้เดือนฝอย Steinernema sp. Thai strain (สไตเนอร์นีม่า) คือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายหนอน ลำตัวกลมใส่บริเวณหัวและท้ายเรียวแหลม ลำตัวไม่แบ่งเป็นข้อเป็นปล้อง มีผนังชั้นนอกเป็นรอยหยัก ยืดหยุ่นได้ มีอวัยวะเพื่อการดำรงชีวิตประกอบด้วย ช่องขับถ่ายทางผิวหนัง เส้นประสาท ทางเดินอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์แบบแยกเพศผู้ เพศเมีย และกล้ามเนื้อ แต่ไม่พบระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ
มองด้วยตาเปล่ายากมาก ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่าจัดได้ว่าเป็นตัวห้ำหรือตัวเบียน เป็นพยาธิที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง โดยการเข้าไปทางปากหรือท่อทวารของหนอนหรือแมลงนั้นๆ และปล่อยแบคทีเรียที่เป็นพิษ ทำให้แมลงศัตรูพืชตายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน แมลงศัตรูพืชไม่สร้างความต้านทานเหมือนการใช้สารเคมี และไส้เดือนสายพันธุ์นี้ไม่มีอันตรายต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) รวมทั้งไม่มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม การใช้ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า จึงเป็น ทางเลือกในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอีกวิธีหนึ่ง สำหรับเกษตรกรผู้สนใจ
ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า มีแหล่งอาศัยที่ใด
ตามปกติแล้วไส้เดือนจะอาศัยอยู่ในดิน แต่จากการที่ศึกษาจาก คุณนุชนำรถ ตั้งจิตสมคิด โดยได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยในตัวอ่อนระยะที่ 3 หรือะยะเข้าทำลายแมลงจะอาศัยอยู่ในดินที่ระดับความลึก 4-6 นิ้ว ซึ่งมีการกระจายตัวในหลายพื้นที่ของประเทศไทย พบในเนื้อดินทั้งชนิดดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินเหนียว จะมีเพียงตัวอ่อนระยะที่ 3 เท่านั้นที่สามาถอยู่นดินโดยไม่ต้องกินอะไร ส่วนในระยะการเจริญเติบโตระยะอื่นๆจะไม่ทนทานต่อ สภาพแวดล้อมภายนอกตัวแมลง
กระบวนการล่าแมลงศัตรูพืชของไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า
การล่าเหยือของไส้เดือนฝอยคือ เมื่อพบแมลงเหยื่อ พวกมันจะเคลื่อนที่เข้าสู่ตัวแมลงโดยผ่านทางช่องเปิดตามธรรมชาติได้แก่ ทางปาก ช่องทางขับถ่าย หรือรูหายใจทางผิวหนัง จากนั้นเข้าสู่ช่องว่างภายในตัวแมลงซึ่งมีน้ำเลือดอยู่ ไส้เดือนฝอยจะปลดปล่อยแบคทีเรียแกรมลบ “Xenorhabdus sp.” ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ส่วนหน้าของไส้เดือนฝอยระยะเข้าทำลาย ลงสู่กระแสเลือดของแมลง โดยแบคทีเรียดังกล่าวจะสามารถสร้างพิษที่มีผลทำให้แมลงเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ และตายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่เกิน 12-24 ชั่วโมง ลำตัวของหนอนจะเริ่มเป็นสีดำและจะตายไป
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยนั้นหากนำมาใช้งานจากโรงเพาะจะเริ่มจากตัวอ่อนระยะที่ 3 ที่สามารถทนอยู่ในดินและเมื่อเจอเหยื่อก็เข้าไปตามช่องเปิดตามธรรมชาติของแมลง จากนั้นก็เข้าสู่น้ำเลือดของแมลงและปล่อยแบคทีเรียที่สร้างสารพิษเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษและใน 12-24 ชั่วโมงแมลงจะตาย ซึ่งเซลล์แบคทีเรียนในน้ำเลือดจะเพิ่มขึ้น ไส้เดือนฝอยจะใช้เซลล์ของแบคทีเรียในการเจริญเติบโต
โดยในตัวแมลงที่เป็นเหยื่อที่เต็มไปด้วยไสเดือนฝอยระยะที่ 3 จะค่อยๆเจริญเติบโตโดยการกินเซลล์แบคทีเรีย และลอกคราบกลายเป็นระยะที่ 4 จากนั้นพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยแยกเพศผู้และเพศเมีย โดยตัวเต็มวัยเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ 3 เท่า สามารถผลิตไข่ได้มากกว่า 800-1,000 ฟองต่อตัวเมีย 1 ตัว มีการจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อไข่ได้รับการผสมจะพัฒนาเป็นตัวอ่อน ระยะที่ 1 ในไข่ และฟักออกจากไข่ ลอกคราบเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ตามลำดับ ใช้เวลาประมาณ 4-5 วันต่อ 1 รอบวงจรชีวิต
ซึ่งระยะเวลาใน 1 รอบวงจรชีวิตจะเร็วหรือช้สขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของแมลงศัตรูพืชนั้นๆ และจำนวนรอบของวงจรก็ขึ้นอยู่กับขนาดของแมลงอีกด้วยโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 1-3 ชั่วอายุ และเมื่อเหยื่อแมลงเริ่มแห้งเป็นซาก ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า ระยะที่ 3 จะสะสมอาหารประเภทไขมันบริเวณเนื้อเยื้อของผิวหนังกับกล้ามเนื้อช่องท้อง และดูดแบคทีเรียกลับเข้าไปยังลำไส้ส่วนหน้าก่อนจะเคลื่อนตัวออกจากซากเหยื่อ และรอเหยื่อใหม่ ซึ่งในระยะตัวอ่อนที่ 3 ตัวไส้เดือนสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกได้นาน ถึงแม้ไม่ได้เข้าไปอยู่ในตัวแมลงก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ แต่ทั้งนี้หากเจอสภาวะที่แห้งแล้วมากก็ตายได้เช่นกัน
การดูเพศและการเจริญเติมโต
การดูเพศของไส้เดือนฝอยนั้นเราสามาถแยกได้จากขนาด เพราะไส้เดือนฝอยเพศเมียจะมีขนาดตัวและความยาวใหญ่และยาวกว่าเพศผู้ 3 เท่า และเพศผู้จะมีลำตัวสีใสกว่าเพศเมีย
และมาอธิบายในส่วนของการเจริญพันธุ์ของไส้เดือนฝอยกัน ตามงานวิจัยแล้วไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า หรือไส้เดือนสายพันธุ์ไทย มีระยะการเจริญเติบโตทั้งหมด คือ ระยะไข่ และระยะตัวอ่อนอีก 4 ระยะ และจะเจริญเติมโตไปเป็นตัวเต็มวัยเพศเมียและเพศผู้ ไส้เดือนฝอยระยะตัวอ่อนมีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้ กล้องจุลทรรศน์หรือเลนส์ขยายขนาด 30 เท่าขึ้นไป จึงสามารถมองเห็น
การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ในไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า
โดยปกติแล้วสัตว์ทุกชนิดมีการสืบพันธุ์เพื่อให้คงอยู่ของสายพันธุ์ตัวเอง แต่คุณสงสัยไหมว่าไส้เดือนฝอยมีวิธีสืบพันธุ์อย่างไร มันทั้งตัวเล็กจนมองไม่เห็นและลำตัวยังเป็นเส้นกลมไม่เห็นอวัยวะส่วนไหนที่สามารถทำหน้าที่สำหรับสืบพันธุ์ได้เลย แต่เดี่ยวก่อน จากที่เราได้ไปเสอะแสวงหาภาพลับๆมาจาก คุณนุชนารถ ตั้งจิตสมคิด กรมวิชาการเกษตร ได้แสดงรูปเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมียและเพศผู้ คือ
อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้
หลังจากที่เราได้เห็นอวัยวะของไส้เดือนฝอยไปแล้ว เราก็มาทำความเข้าใจการผสมพันธุ์กันต่อเลย โดยปกติแล้วสัตว์เกือบทุกชนิด เพศเมียจะมีตัวที่ใหญ่กว่าเพศผู้ นั้นทำให้เวลาผสมพันธุ์กัน ตัวเมีย 1 ตัวสามารถผสมพันธุ์กับเพศผู้ได้ถึง 2-3 ตัว หรือมากกว่า
เมื่อการปฏิสนธิเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไข่จะเริ่มเจริญเติบโตโดยมีระยะทั้งหมด 8 ระยะ และจะยังอาศัยอยู่ในตัวเพศเมียระยะหนึ่งและออกมาภายนอก โดยเพศเมียสามารถมีลูกได้ถึง 800-1000 ตัวเลย
แมลงศัตรูพืชที่ใช้ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า ในการกำจัด
จากการค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยของคุณนุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ได้ให้ความรู้ไว้ว่า ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า หรือ ไส้เดือนสายพันธุ์ไทย มีศักยภาพในการควบคุมแมลง ได้หลายชนิด ได้แก่
- แมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อ
- กลุ่มหนอนด้วง เช่น หนอนใยผัก, หนอนกระทู้หอม, หนอนกระทู้ผัก, หนอนเจาะสมอฝ้าย, ด้วงหมัดผัก, หนอนด้วงในฟาร์มไก่, ด้วงกุหลาบ, หนอนด้วงแมลงนูนหลวง, หนอนคืบลำไย, หนอนเจาะกิ่งหนอนใยผัก,หนอนกินรากหญ้า, หนอนเจาะก้อนเห็ด
และสามารถนำไปกำจัดปลวกในสวนผลไม้ สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และปลวกทำลายกล้าไม้สวนป่า นอกจากนั้น ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยมีคุณสมบัติทนทานอุณหภูมิได้สูงถึง 38 องศาเซลเซียส เหมาะสมที่จะนำมาใช้กำจัดแมลงในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย หรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตร้อนชื้น
การเพาะพันธุ์ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีม่า
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนฝอยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำเทคโนโลยีมาสร้างผลผลิตในมากขึ้นทันต่อการใช้งานในการพ่นกำจัดแมลง และเมื่อมีการสอนเทคโนโลยีนี้ให้แก่ชุมชน ก็จะเป็นการส่งเสริมการลดใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง และคุณนุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ก็มีวิธีเพาะพันธุ์ไส้ฝอยที่ไม่ยุ่งยากมาสอนกัน เพื่อนำไปใช้กำจัดแมลงศัตรูเป้าหมายทดแทนสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
- หม้อนึ่งฆ่าเชื้ออาหารชนิดไฟฟ้า
- ภาชนะผสมอาหารพร้อมฝาปิด
- ภาชนะคลุกอาหาร
- ภาชนะบรรจุอาหารรูปทรงกระบอก
- ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด
- กระบอกฉีดแอลกอฮอล์ 70% ส าหรับฆ่าเชื้อ
- อุปกรณ์ใส่หัวเชื้อ ได้แก่ กระบอกฉีดยาขนาด 20 มล. พร้อมเข็มเบอร์ 18
- ผ้าเช็ดทำความสะอาด
- ถุงมุ้งกันแมลงสำหรับใส่ภาชนะเพาะเลี้ยงขณะบ่มเพาะ
- อาหารเพาะเลี้ยง ไข่ น้ำมันหมู น้ำ ต่อการเพาะ 1 ครั้ง
- ก้อนฟองน้ำตัดรูปทรงสี่เหลี่ยมเล็กๆ 1×1 ซม.
- หัวเชื้อไส้เดือนฝอย
ขั้นตอนการผลิต
- การเตรียมอาหารสำหรับเพาะเลี้ยง โดยจะใช้ สูตรอาหาร : ไข่ไก่หรือไข่เป็ด + น้ำมันหมู + น้ำสะอาด อัตรำส่วน 4 : 2 : 4 ผสมให้เป็นเนื้อเดี่ยวกันแล้วปิดไว้
- นำอาหารที่ผสมดีแล้วมาเทใส่ก้อนฟองน้ำตัดรูปทรงสี่เหลี่ยมเล็กๆ คลุกเคล้าให้อาหารซึมเข้าไปในฟองน้ำ และหยิบใส่ถุงพลาสติกพร้อมเย็บปากถุงให้ถุงเป็นทรงสามเหลี่ยม รอเอาไปนึ่งต่อไป
- นำอาหารที่ถูกบรรจุในถุงเรียบร้อยแล้วเอาไปใส่ในหม้อนึ่ง 60 นาที และพอนึ่งเสร็จก็พักในหม้ออีก 30 นาที นำเอาออกมาเขย่าไม่ให้ฟองน้ำติดกัน และว่างให้หายร้อน
- ใช้กรรไกรขลิบสันเหลี่ยมถุงด้านบนประมาณ 1 ซม. และใช้กระบอกฉีดยาปริมาตร 20 มิลลิลิตร พร้อมเข็มเบอร์ 18 ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แทงผ่านถุงบรรจุหัวเชื้อและดูดไส้เดือนฝอยจากถุงทั้งหมดในครั้งเดียวและนำไปฉีดผ่านรูที่ถุงสามเหลี่ยม
- บ่มเพาะไว้ประมาณ 7 วัน ในอุณหภูมิ 27-33 องศาเซลเซียส
ขั้นตอนการนำไปใช้
หลักจากการบ่มเพาะได้ 7 วันเราจะได้เชื้อสด และสามารถใช้ได้ในวันที่ 8-14 โดยเราสามารถนำเชื้อสดเหล่านั้นออกมาใช้โดย
- นำก้อนอาหารเทลงในกาละมัง เทน้ำลงไปพร้อมกับน้ำยาล้างจาน 1-2 หยดเพื่อลดน้ำมัน
- ขยำก้อนอาหาร(ฟองน้ำ) และกรองน้ำแยกกับฟองน้ำออก
- น้ำที่กรองออกมาจะมีไส้เดือนฝอยอยู่จำนวนมาก นำเอาไปใส่ในถังพ่นสาร 20 ลิตร และนำไปใช้พ่นในแปลงผักได้เลย
สำหรับสินค้าชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลง มีจำหน่ายทั้งในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย กันอย่างแพร่หลาย โดยมีจำนวน 11 ชนิด 2 สกุล คือ steinernemacarpocapsae, S. feltiae, S. glaseri, S. kushidai, S. riobrave, S. scapterisci, Heterorhabditisbacteriophora, H. indica, H.marelata, H. megidisและ H. zealandica สำหรับในประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายสไตเนอร์นีม่าจำหน่ายเป็นการค้าบรรจุในสารลิเมอร์ในถุงรูป สามเหลี่ยม
ไส้เดือนฝอยรากปม ศัตรูพืชที่แท้จริง
อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่าไส้เดือนฝอยในโลกนั้นมีทั้งสร้างประโยชน์ และสร้างปัญหา ซึ่งในอดีตมีโรคชนิคหนึ่งที่เกิดขึ้นกับรากของผลผลิตทางการเกษตร ทำให้รากเกิดปม พืชผัก หรือต้นผลไม้เริ่มใบเหลืองและตายลง ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านในอดีตคิดว่าเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา แต่ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากกว่าในอดีตทำให้เหล่านักวิทยาศสาตร์ได้พบคำตอบว่าศัตรูที่ทำให้เกิดโรครากปมนั้นคือ ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ Meloidogyne spp.
Meloidogyne spp. (ไส้เดือนฝอยรากปม)
ไส้เดือนฝอยชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่ให้โทษโดยเราได้ศึกษาจากคุณ อนงค์นุช สาสนรักกิจ, มนตรี เอี่ยมวิมังสา และ ดร.บัญชา ชิณศรี คณะเกษตรภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยกล่าวว่า ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช (Plant Parasitic Nematodes) เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายเส้นด้าย ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้มองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ความยาวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.2-2 มิลลิเมตร ซึ่งมีอวัยวะที่สำคัญคือ ปากมีลักษณะคล้ายเข็ม เรียกว่า stylet เป็นส่วนที่ใช้แทงเซลล์พืชและปล่อยเอ็นไซม์เพื่อเข้าทำลายและดูดสารอาหารจากพืช จะว่าแล้วก็เป็นเหมือนพยาธิพืชนั่นเอง
ไส้เดือนฝอยเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยโดยการลอกคราบ ซึ่งการลอกคราบครั้งแรกเกิดขึ้นในไข่ และตัวอ่อนระยะที่สองซึ่งเป็นระยะเข้าทำลายพืช จากนั้นจะทำการลอกคราบอีก 3 ครั้งจนเป็นตัวเต็มวัย ไส้เดือนฝอยเพศเมียบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง คือ มีรูปร่างค่อนข้างกลมคล้ายผลมะนาว หรือมีลักษณะคล้ายถุง
ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในดินและเข้าทำลายรากพืช ทำให้พืชเกิดอาการรากปม รากแผล รากกุด รากเน่า เป็นต้น ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับพืชโดยทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพผลผลิตลดลง ซึ่งในประเทศไทยไส้เดือนที่สร้างปัญหาเกี่ยวกับรากเป็นปมคือ ไส้เดือนสายพันธุ์ Meloidogyne spp. เป็นสายพันธุ์ที่สร้างความเสียหายให้กับ พืชหัว พืชผัก ไม้ผล พืชเส้นใย ไม้ดอก ไม้ประดับ และ ธัญพืช เป็นต้น มีพืชอาศัยมากกว่า 2,000 ชนิด เช่น มันฝรั่ง พริก มะเขือเทศ ยาสูบ ขิง ฝรั่ง ข้าว ฝ้าย เยอบีรา ฯลฯ โดยทำให้พืชแสดงอาการแคระแกรน โตช้า ใบเหลือง เหี่ยว ผลผลิตได้รับความเสียหาย เนื่องจากระบบรากถูกทำลาย ทำให้เกิดปุ่มปมจำนวนมากที่รากพืช
ยกตัวอย่าง การเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยในพริกที่เกิดขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานีที่ใน 1 ปีมีการปลูกพริก ประมาณ 7,861 ไร่ แต่กลับมีผลผลิตเสียหายเพราะเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. เป็นมูลค่ากว่า 50-80 ล้านบาท นับว่าเป็นเงินที่สูงมากเลยที่เดียว นั้นจึงมีโครงการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับความร่วมมือจากสถานีวิจัยพืชไร่ จ. อุบลราชธานี คิดแนวทางการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมในพริกโดยลดการใช้สารเคมีจึงมีความสำคัญ และพอสรุปได้คือ
- ไม่ควรปลูกพริกที่เดิมซ้ำๆ ควรย้ายแปลงปลูกและหลังเก็บเกี่ยวต้องควรไถดิน พักไว้ให้ความร้อนจากแสงแดดฆ่าตัวอ่อนและไข่ไส้เดือนฝอยรากปมในดิน
- หลีกเลี่ยงการปลูก มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง พืชผักหลังจากการปลูกพริก เพราะพืชเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่ไส้เดือนฝอยรากปมสามารถเจริญและแพร่พันธุ์ได้เป็นอย่างดี แต่ให้เลือกเอา ดาวเรือง ถั่วลิสง หรือ ปอเทือง มาปลูกสลับพริก เพื่อลดประชากรของไส้เดือนฝอยในดิน นอกจากนี้ปอเทืองยังเป็นพืชบำรุงดินอีกด้วย การปลูกปอเทือง สามารถทำได้โดยหว่านเมล็ดปอเทืองในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อพื่นที่ 1 ไร่ เมื่อปอเทืองอายุได้ประมาณ 45 วัน ทำการไถกลบเพื่อเพิ่มปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนในดิน จะทำให้พริกที่จะปลูกในฤดูถัดมา มีความสมบูรณ์มากขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย
- เพื่อลดการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปมในระยะแรก ให้ใช้ฟางข้าวหรือแกลบคลุมแปลงเพาะกล้าพริกและ เผาเพื่อให้ความร้อนทำลายไข่และตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยและพักแปลงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนเพาะกล้าพริกรุ่นถัดไป
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชยังคงอยู่ในนิเวศวิทยาที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในดิน คือความชื้น
เกร็ดความรู้!!! M. chitwoodi จัดเป็นไส้เดือนฝอยกักกัน ไม่เจอในไทย Aphelenchoides besseyi จัดเป็นไส้เดือนฝอยกักกัน เจอในกล้วยไม้ Radophorus similis เป็นไส้เดือนฝอยรากโพรง เจอในต้นไม้ที่ปลูกในวัสดุปลูกอย่างกากมะพร้าว แต่ไม่จัดเป็นไส้เดือนฝอยกักกัน Hirschmanniella oryzae เป็นไส้เดือนฝอยที่พบในรากข้าว Hirschmanniella spp. เป็นไส้เดือนฝอยที่พบในรากต้นไม้น้ำที่มักส่งออกไปขายต่างประเทศ
หมดปัญหาไส้เดือนฝอยรากปมเมื่อเจอสิ่งนี้
Mylonchulus sp. (ไส้เดือนฝอยตัวหํ้า)
ในประเทศไทยปัญหารากปมในพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอยMeloidogyne spp. เป็นปัญหาที่ยังคงเจอกันทำให้เกิดงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดย คุณรักตาภา ผองอินทรีย์, ดร.อนงค์นุช สาสนรักกิจ, ดร.บัญชา ชิณศรี และดร.ศรีเมฆ ชาวโพงพาง ได้ร่วมกันทำวิจัยเกี่ยวกับ สัณฐานวิทยาและอัตราการกินเหยื่อของไส้เดือนฝอยตัวห้ำสกุล Mylonchulus sp. (อันดับ:Mononchida) เพื่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp. ได้กล่าวว่า ไส้เดือนฝอยตัวห้ำ สามารถพบได้ในดินที่มีความชื่นและปริมาณอินทรียวัตถุมาก สามารถกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือไส้เดือนฝอยชนิดอื่นๆเป็นอาหาร ไม่เป็นศัตรูพืชและเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ในการ รักษาสมดุลทางธรรมชาติ
ซึ่งการใช้วิธีนี้มีประสิทธิภาพดีพอที่จะใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม รายงานว่าไส้เดือนฝอยตัวห้ำสกุล Mylonchulus sp. สามารถกินตัวอ่อนระยะที่ 2 ของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita และ Meloidogyne javanica ได้
ลักษณะ Mylonchulus sp. (ไส้เดือนฝอยตัวหํ้า)
ไส้เดือนฝอยตัวห้ำในกลุ่ม Mononchida มีลักษณะเฉพาะคือ มีช่องปากที่แข็งแรงและมีเขี้ยวหรือฟันขนาดเล็กหนึ่งหรือหลายซี่ ที่ใช้ในการกัดและตัดกินเหยื่อให้มีขนาดเล็กนอกจากนั้นยังสามารถกินอาหารได้หลากหลายไม่จําเพาะว่าเป็นไส้เดือนฝอยศัตรูพืช หรือ ไส้เดือนฝอยชนิดอื่นๆ
ด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่าไส้เดือนฝอย
ตัวห้ำสกุล Mylonchulus sp. มีลําตัวเรียวยาวขนาดเฉลี่ย 1136.21±199.08 ไมโครเมตร ริมฝีปากเป็นเหลี่ยม ผนังปากหนา ช่องปากตอนบนกว้างกว่าตอนล่าง มีฟันซี่ใหญ่อยู่ส่วนหัว (dorsal tooth) ส่วนหางสั้นและแคบเป็นรูปกรวยโค้ง หางมีความยาวเฉลี่ย 42.57±6.42 ไมโครเมตร ลําไส้ไม่ซ้อนทับกัน
ไส้เดือนฝอยตัวห้ำสกุล Mylonchulus sp. ตัวเต็มวัยเพศเมียมีลําตัวเรียวยาวเฉลี่ยสูงสุดที่ 2150 ไมโครเมตรและน้อยสุดที่ 820 ไมโครเมตร และ รายงานว่าลักษณะของไส้เดือนฝอยตัวห้ำ Mylonchulus sp ช่องปากคล้ายรูปถ้วย แต่ยังไม่มีการค้นพบไส้เดือนฝอยตัวห้ำที่เป็นเพศผู้
ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจในทุกกลุ่มทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ต่อมาจึงได้มีการค้นคว้าหาวิธีในการควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การควบคุมทางชีวภาพจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ
ซึ่งใช้ไส้เดือนฝอยตัวห้ำในกลุ่ม Mononchida คือไส้เดือนฝอยตัวห้ำสกุล Mylonchulus sp. ที่ใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมแบบชีวภาพ มีอัตราการล่าเหยื่อ 16% เมื่อใช้ไส้เดือนฝอยตัวห้ำ 1 ตัว ต่อเหยื่อ 100 ตัว ในระยะเวลา 1 วัน เมื่อครบ 7 วัน ค่าเฉลี่ยของอัตราการกินเหยื่อเมื่อใช้ไส้เดือนฝอยตัวห้ำ 5 ตัว สามารถกินเหยื่อ เฉลี่ย 77.62 ตัวต่อวัน และสามารถกินเหยื่อได้สูงสุด 90.67 ตัวในวันที่ 3 และพบว่าไส้เดือนฝอยตัวห้ำ Mylonchulus sigmaturus เลือกกินไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne javanicaได้ดีที่สุด โดยไส้เดือนฝอยรากปมลดจํานวนลงในวันที่ 3-21
ใครอ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงได้ความรู้อีกหลายอย่าง และบทความนี้ได้มีการบอกอย่างชัดเจนว่าไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไหนที่ให้ประโยชน์หรือให้โทษ หากคุณกำลังประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาดในสวนของคุณ kaset.today หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณได้ และเว็บเรายังมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับปศุสัตว์อีกมากเลย
แหล่งอ้างอิง
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่