การจัดสวนผัก

การจัดสวนผัก ทำไมปัจจุบันถึงนิยมมากขึ้น แล้วมีรูปแบบอะไรบ้าง

Facebook

การจัดสวนผัก (vegetable garden) เป็นสวนที่คนไทยได้ยินแล้ว ก็จะนึกถึงภาคการเกษตรที่ปลูกกันเป็นสวน เป็นไร่ขนาดใหญ่ ซึ่งการทำสวนผักแบบนั้นจะทำในเชิงอุตสาหกรรม ปลูกแล้วส่งในโรงงาน หรือ มีพ่อค้าคนกลางมารับไปในจำนวนมาก แต่ถ้าเรามาพูดกันถึงการจัดสวนผักแบบ “ครัวเรือน” กันละ มันจะเป็นสวนแบบไหนกัน

การจัดสวนผัก
credit : Seattle Urban Farm Company
การจัดสวนผัก จะบอกว่าเป็นการจัดเพื่อความสวยงามมันก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งการจัดสวนผักในต่างประเทศมีความแตกต่างจากในไทยเล็กน้อย โดยเฉพาะการปลูกสวนผักในครัวเรือน เพราะคนไทยสวนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการจัดสวนในแบบอื่น ๆมากกว่า 

โดยคนไทยเห็นว่าผักสวนครัวส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก จัดไปก็เสียเวลา ดังนั้นจึงชอบปลูกผักสวนครัวในกระถางหรือที่ดินข้าง ๆ บ้าน โดยวางกระถางไว้ข้าง ๆ บ้าน ไม่จัดอะไรมาก ขอแค่ต้นผักเหล่านั้นออกใบออกผลให้ได้กินก็พอแล้ว

แต่วันนี้ Kaset today จะมาบอกเล่าอีกมุมมองของการจัดสวนผักให้กลายเป็นสวนประดับที่จะทำให้สวนของคุณมีสีสันสวยงาม และยังสร้างอาหารให้คุณได้อีกด้วย ซึ่งในต่างประเทศมีการจัดสวนผักหลากหลายที่เราคิดว่าสามารถเอามาปรับใช้กับประเทศไทยได้ เพราะในประเทศไทยเราก็มีการจัดสวนผักเพื่อความสวยงาม แต่ไม่มาก และถ้านำองค์ความรู้จากหลาย ๆที่มาเล่า เราต้องได้บทความที่มีสาระดี ๆ แน่นอน

การจัดสวนผักคืออะไร …ทำไมถึงจัดเป็นสวนประดับได้

จริง ๆ แล้วการจัดสวนผักเป็นการจัดสวนเพื่อการบริโภคในครัวเรือนสำหรับประเทศไทยในอดีต เรามีการปลูกผัก ผลไม้ สมุนไพร ไว้ข้างบ้านเพื่อมาทำเป็นอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนสมัยก่อนไม่ได้มีพิธีรีตองกับการมาจัดสวนผักของสวนเขาให้สวย เพราะพวกเขาคิดว่า พักพวกนี้ปลูกไปเดี่ยวก็กินแล้วก็ปลูกใหม่ แล้วจะจัดไปเพื่ออะไร มันไม่ใช่สวยดอกไม้ที่พวกเขาจะใช้เวลาเพื่อมาเดินชม หรือผ่อนคลาย

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการปลูกผักก็ไม่ได้ตอบโจทย์ แค่คนในครอบครัว แต่เป็นการปลูกเพื่อไว้ขาย หรือ ส่งเข้าระบบอุตสาหกรรม นั้นทำให้เกิดการพัฒนาในการจัดสวนผัก จากที่ปลูกกัน 2-3 ต้นต่อผัก 1 ชนิด ก็กลายเป็นหลายร้อยหลายพันต้น และเพื่อสะดวกต่อการดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต ก็ทำการแบ่งการปลูกเป็นโซน หรือ บล็อกอย่างชัดเจน นั้นทำให้การจัดสวนผักดูมีระเบียบและดูน่ามองมากขึ้น แต่การจัดระบบแบบนี้เกิดขึ้นมาก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทำเป็นสวนสวยเป็นหลัก แต่เพื่อความสะดวกสะบายเท่านั้น

และต่อมาเมื่อมีเทรนเกิดขึ้นในกลุ่มคนเมืองที่อยากอยู่พักกินเอง เป็นผักปลอดสร้างพิษ แต่ประเด็นและปัญหาหลักของพวกเขาอยู่ที่ พื้นที่ที่ใช้ปลูก เพราะต้องยอกรับว่า คนเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยในเมื่องจริง ๆ มักอาศัยในคอนโด หรือบ้านทาวน์โฮม ที่มีพื้นที่แค่เล็กน้อย จึงทำให้เกิดแนวคิดว่าจะปลูกผักในพื้นที่ตรงนี้ยังไง ให้คุ้มค่าและสวยงามเข้ากับบ้านที่สุด เช่น การปลูกผักแบบแนวตั้ง การปลูกผักแบบปลูกในน้ำ หรือการปลูกผักแบบคอนโด แนวคิดพวกนี้เกิดขึ้นมามากมายและมันต้องมาควบคู่กับความสวยงาม

และในปัจจุบันเทรนสุขภาพก็เข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตเรามากขึ้น การจัดสวนผักที่ได้ทั้งประโยชน์และความสวยงามก็เริ่มได้รับความนินมไปทั่ว จากคนเมืองสู่คนต่างจังหวัด และหลายครั้งที่ทั้งภาครัฐและเอกชน นำการจัดสวนผักไปจัดแสดงโชว์นั้นในและต่างประเทศเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย และ kaset.today มีรูปแบบการจัดสวนผักที่นิยม และสวนผักแบบต่าง ๆในต่างประเทศมาให้คุณได้เพิ่มความรู้และการจัดสวนผักของคุณกันจุก ๆ กันไปเลย


องค์ประกอบการจัดสวนผัก

องค์ประกอบการจัดสวนผักไม่มีอะไรมาก ส่วนใหญ่เน้นการปรับและประยุกต์นำเอาสิ่งรอบตัวมาใช้ประโยชน์ “ทำยังไงก็ได้” ให้ผักของคุณสวยและปลอดภัยจากโรคพืช, แมลงศัตรูพืช และที่สำคัญคือ “สวยและเป็นสัดเป็นส่วน” ส่วนองค์ประกอบที่ควรมีคือ

  • ผักหรือผลไม้

ผักและผลไม้ เป็นต้นพืชและต้นไม้ที่เป็นองค์ประกอบหลักของสวน โดยเราอยากจะแนะนำว่าให้คุณลองศึกษาสภาพดินที่บ้านของคุณก่อน แล้วค่อยเลือกผักมาปลูก ว่าชนิดไหนเติบโตได้ดี หรือ ถ้าอยากปลูกผักที่มันไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยหรือ ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน คุณก็ต้องไปศึกษาการดูแลของผักชนิดนั้น เพราะมันจะทำให้สวยผักของคุณไม่ต้องดูแลมาก และสวนผักของคุณจะสวยไปทั้งปี

ในประเทศไทยเราสามารถหาวัสดุรอบตัวมาใช้เป็นกระถางได้ เช่น การปลูกผักในกระถางมะพร้าวหรือมะพร้างซีก, การปลูกในท่อปูน, การปลูกในยางรถที่ไม่ใช้แล้ว หรือการนำแผ่นไม้อัดมาประกอบทำเป็นกระบะไม้ใช้ปลูกผัก แต่ถ้าใครชอบกระถางแบบมีสีสันสดใส แต่มีพื้นที่น้อย ก็อาจจะปลูกแบบแนวตั้ง ก็เพิ่มความสวยงามให้กับบ้านของทุกคนเหมือนกัน

  • แผ่นพลาสติกใส หรือ สแลนกันฝน

เป็นอุปกรณ์ที่เราแนะนำว่า “ควรมีมาก ๆ” เพราะประเทศของเรามีฝนตกบ่อยโดยเฉพาะในฤดูฝน ที่อาจจะทำให้สวนผักของเราเสียหายได้ แต่การเลือกใช้แผ่นพลาสติกใส หรือ โดมใส คลุมผัก ก็เป็นการเพิ่มความสวยงามให้กับสวนของคุณไปอีกแบบ

  • ระบบน้ำต่าง ๆ

ระบบน้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดสวนผัก เพราะการจัดสวนผักต้องการการรดน้ำที่เสม่ำเสมอ และการวางระบบน้ำดี ก็จะลดแรงในการดูแลสวนไปได้

  • ของตกแต่างสวน

การเปลี่ยนการจัดสวนผักธรรมดาให้เป็นสวนผักสวย ๆ ของตกแต่งเป็นสิ่งสำคัญ เป็นได้ทั้งสิ่งของ ต้นไม้ และทุกอย่างที่เอามาประดับควรที่จะมีประโยชน์กับสวน เช่น การปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม หรือปลูกสมุนไพรที่มีกลิ่นและไล่แมลงได้ หรือ ปลูกไม้ใหญ่เพื่อให้ร่มเงาไว้ประมาณ 2-3 ต้นก็เป็นอีกวิธีที่เข้าท่าดี

การทำทางเดินเข้าไปในสวนก็เป็นการตกแต่งให้สวนผักของเราน่าสนใจมากขึ้น หรือคุณจะเอาการจัดสวนสไตล์วินเทจมาปรับใช้ในการจัดสวนผักก็ได้เหมือนกัน พร้อมประดับไฟ เช่น โคมไฟสนาม ตามทางเดินตามจุดต่าง ๆ ทำให้เวลากลางคืนเราสามารถเขาไปเดิน และยังเป็นการไล่สัตว์ที่แอบเข้ามากินพืชผลอีกด้วย

หรือการทำที่นั่งเล่นกลางสวนผักก็เป็นอีกวิธีในการตกแต่งสวนในสวย ซึ่งเราสามารถเอาฟอร์นิเจอร์เช่น โต๊ะ เก้าอีก ที่เป็นไม้ หรือ หิน มาวาง ก็จะเป็นพื้นที่สำหรับคนในครอบครัวได้

  • อุปกรณ์ทำสวน

คุณเคยรู้สึกอะไรแบบนี้ไหม “ของมันต้องมี” อาการแบบนี้มักเกิดกับกลุ่มวัยรุ่น หรือพวกที่จริงจังกับการจัดสวนมาก ๆ เช่น อุปกรณ์ต้องมรให้ครบไม่ว่าจะเป็น จอบขุดดิน, พลั่วตักดิน, เล็บเสือ(ที่กวาดใบไม้), กรรไกรตัดกิ่งตัดหญ้า, บัวรดน้ำ, ถังพ่นยา, ถังหมักปุ๋ย สาระพัดอุปกรณ์ที่จะทำให้สวนของคุณมีของตกแต่งและใช้งานได้จริง


แนวคิดที่น่าสนใจในการจัดสวนผัก

จัดเก๋ ๆ ด้วยมะพร้าวซีก

หากใครที่ชอบบรรยากาศแบบชนบทไทย ที่เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติมาเป็นภาชนะในการปลูกผัก และบ้านของคุณมีพื้นที่น้อย-ปานกลาง เราแนะนำการจัดสวนผักโดยให้คุณใช้มะพร้าวซีกเพื่อเอาไปเป็นกระถาง และคุณยังสามารถประยุกต์การจัดวางทั้งแบบ แนวตั้ง และแนวนอนได้ แถมมะพร้าวซีกยังเป็นวัสดุธรรมชาติ หากใช้ไปจนมันเริ่มย่อยสลาย เราก็สามารถเอามะพร้าวซีกมาสับ เพื่อทำเป็นกาบมะพร้าวสับ และเอาไปใส่ดิน เพียงเท่านี้ การจัดสวนสไตล์เก๋ ๆ ก็จะไม่สร้างขยะในบ้านของคุณอีกต่อไป

การจัดสวนผัก
credit : greenhousebusiness.com

จัดแบบอังกฤษ

ฟังแล้วดูดีเลยใช่ไหม การจัดสวนแบบนี้คือการจัดเป็น “บล็อก” ไม่ใหญ่มากเกินไป เน้นความสะดวกในการใช้งาน รูปร่างจะเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมทั้งแบบจัตุรัส และแบบผืนผ้า โดยมีการจัดวางในแต่ละบล็อกให้มีทางเดินเพื่อสะดวกต่อการปลูกและเก็บเกี่ยว แต่การจัดสวนผักแบบนี้เหมาะกับพื้นที่ ที่น้ำท่วมไม่ถึง และวัสดุที่เอามาทำบล็อกหรือคอกนั้นนิยมเอาแผ่นไม้ที่ไม่ได้ใช้งาน อิฐบล็อกมาวางเรียงต่อกัน และมักจะใช้สีเทาและสีส้มอิฐ

การจัดสวนผัก
blog.wellappointedhouse.com

จัดแบบแปลงยกระดับ

การจัดสวนผักแบบแปลงยกระดับเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับผู้สูงอายุในบ้าน เพราะพวกเขาไม่ต้องย่อเข่า และยังสะดวกต่อคนที่นั่งบนรถเข็นอีกด้วย หากคุณต้องการปลูกผักเลื้อย คุณก็สามารถทำโครงและผูกเชือกหรือเอ็นเพื่อให้ผักได้เลื้อยขึ้นได้ แนะนำให้ทำความลึกของแปลงปลูกผักมากหน่อย เพราะผักบางชนิดมีรากยาว และนั้นจะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งความสูงของกระบะประมาณ 60-80 เซน นับจากขาตั้งถึงขอบกระบะ

การจัดสวนผัก
credit : Ana White

จัดแบบใส่ของเก่า

หากคุณเป็นคนที่มีความชื่นชอบการทำ DIYแล้ว การจัดสวนผักด้วยการนำของในบ้าน หรือ ของเก่าที่ยังใช้งานได้ ก็เป็นเรื่องสนุกสำหรับคุณเลย เพราะคุณสามารถที่จะนำเอา ปีบขนม, กะละมังสังกะสีเก่าขึ้นสนิม, กางเกงยีนที่ไม่ได้ใช้แล้ว, ล้อยางรถยนต์, หม้อ, ไห, ถังไม้, ท่อปูนซีเมนต์, ขวดน้ำพลาสติก หรือ ขวดแก้ว, ตระกร้าสานที่ใกล้พัง, โถชักโครกที่ไม่ใช้งานแล้ว ก็เป็นไอเดียดี ๆ เพื่อนำเอาเหล่านั้นมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ และทำให้สวนผักของคุณไม่เหมือนใคร เท่และแปลกใหม่

การจัดสวนผัก
credit : SuzVegan

จัดแบบ Kitsch Garden

การจัดสวนผักแนว “Kitsch” ถือว่าเป็นการจัดสวนที่ไม่ค่อยเห็นในบ้านเราเท่าไร ส่วนใหญ่คนที่จัดสวนแนวนี้ มักจะจัดเพื่อความสวยงามมากกว่าการใช้สอย แต่การปลูกผักในสไตล์แบบนี้ก็สร้างความแปลกใหม่ได้เหมือนกัน หลักสำคัญในการจัดสวนผักแนวนี้คือ จินตนาการ และ ความสดใส

การนำของที่ไม่น่าจะอยู่ในสวนให้มาอยู่ในสวน เช่น คุณอาจจะนำตุ๊กตาเซรามิกลายน่ารักหลาย ๆ ตัวมาจัดวางในสวน เสมือนพวกเขาเป็นเผ่าเอลฟ์ที่ช่วยคุณดูแลผักในแปลง หรือคุณจะเอารองเท้าบูทของลูกๆที่มีสีสันสดใสแต่ใส่ไม่ได้แล้ว เอามาใส่ผัก หรือคุณอาจจะทำเป็นโต๊ะน้ำชา มีถ้วยชา กาน้ำ ชั้นวางขนม แล้วคุณก็เอาผักไปปลูกหรือวางข้างใน จัดเป็นมุมเล็ก ๆ คุณก็ได้ทั้งสวนสวยและได้กินผักเล็กๆ น้อยๆ

การจัดสวนผัก
credit : Infarrantly Creative

จัดแบบสามเหลี่ยม

รูปแบบการจัดสวนผักแบบสามเหลี่ยม สามารถทำได้ทั้งพื้นที่แคบ และพื้นที่กว้าง เพราะบางบ้านอาจมีพื้นที่น้อย ก็สามารถปลูกผักตามมุมบ้านได้ เหมือนบล็อกสามเหลี่ยม แต่การจัดแบบสามเหลี่ยม เหมาะกับพื้นที่กว้างด้วยเช่นกัน เพราะเราสามารถจัดวางบล็อกสามเหลี่ยมให้เป็นแบบสลับฟันปลา หรือกระจายออกเป็นรัศมีวงกลม ตรงกลางก็ปลูกเป็นไม้ยืนต้น หรือจะวางเป็นโต๊ะนั่งเล่นก็ได้ แค่นี้ก็ทำให้สวนผักของคุณกลายเป็นสวนหย่อมหลังบ้านได้แล้ว

การจัดสวนผัก
credit : green-hands.livejournal.com
การจัดสวนผัก
credit : cabinorganic.com

จัดแบบ Pyramid

เราสามารถใช้การจัดสวนแบบ Pyramid กับสวนผักและสวนไม้ดอกไม้ประดับได้ และการจัดสวนแบบนี้ยังทำให้เราสามารถปลูกผักที่มีรากยาวและรากสั้นได้ในที่เดียวกัน โดยผักที่มีรากยาวก็ให้ปลูกไว้ที่ยอด และผักที่มีรากสั้นก็ปลูกไว้ที่ฐาน ซึ่งในต่างประเทศนิยมการปลูกผักหรือผลไม้ด้วยวิธีการนี้กับผักหรือผลไม้ที่มีลูกห้อยลงมา เช่น ลูกสตรอเบอรี่

การจัดสวนผัก
credit : Walden Labs

จัดแบบ แนวตั้ง-ไม้เลื้อย

ในประเทศไทยเรามีพืชผักหลายชนิดที่เจริญเติบโตโดยการเลื้อยไปตามโครง และมีผลห้อยลงมา ทำให้คนไทยคุ้นชินกับการจัดสวนผักแบบนี้ เราสามารถจัดสวนสไตล์นี้ให้มีลูกเล่น และทรงที่สวยขึ้นได้โดยการ ทำโครงให้มีความหลากหลาย เช่น ทั้งแบบทรงพีระมิดฐานสี่เหลี่ยม, ตั้งโครงแบบมุมทแยงมุม, โครงซุ่มโค้ง, โครงแบบหลังคาบ้าน หรือ การใช้เอ็นขึงแบบแนวดิ่ง ก็เป็นที่นิยมเหมือนกัน

การจัดสวนผัก
credit : NaiBann
การจัดสวนผัก
credit : Brecht Teerlinck

จัดแบบ แนวตั้ง-กระถาง

จะสังเกตุได้ว่าการจัดสวนผักแบบแนวตั้ง-กระถาง เหมาะกับกลุ่มคนที่ไม่พื้นที่ที่เป็น “ดิน” ดังนั้นการใช้กระถางเกี่ยวกับไปโครงที่ตั้งตรงตามแนวกำแพง เป็นการจัดสวนที่เน้นการใช้ประโยชน์มากกว่า แต่คุณสามารถเพิ่มความสวยด้วยการใช้กระถางสี เช่น ขาว น้ำตาล ดำ หรือ สีพาสเทล

การจัดสวนผัก
credit : Jan Šmída

จัดแบบ Espalier Tree

Espalier ในต่างประเทศได้นิยามไว้ว่า “ไม้ผลหรือไม้พุ่มประดับที่ได้ดับการดัด ตกแต่ง โดยให้เติบโตในแนวตั้งตรง ราบไปกับกำแพงหรือชิดกับผนัง ค้ำยันแบบเครือข่าย” ส่วนใหญ่การจัดสวนประเภทนี้จะทำกับ “ผลไม้”

เป็นอีกสวนที่เราอยากจะเอามาเล่าให้ฟัง เพราะมันสามารถทำให้กำแพงบ้านของคุณสวยขึ้น เอาไปปลูกในสวนผัก ก็สามารถทำเป็นฉากกั้นได้เช่นกัน แต่ใช้เวลานานในการปลูกผลไม้ เพื่อให้กิ่งดัตไปตามโครงที่เราทำขึ้น

credit : willowbrookpark.blogspot.it
credit : Stark Bro’s
credit : brookegiannetti.typepad.com

การปลูกและดูแล

การปลูก

  • แสงแดด

ควรเป็นแสงแดดที่ไม่แรงมากจนเกินไป หรือดูตามความเหมาะสมของผักและผลไม้ที่ปลูก แต่แนะนำว่าถ้าผักชนิดนั้นเป็นผักท้องถิ่นของประเทศไทยก็สามารถปลูกกลางแจ้งได้เลย แต่ถ้าเป็นผักที่นำเข้าและผักสลัดก็ควรมีสแลนคลุมกันแดดนิดหน่อย

  • น้ำ

น้ำเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำสวนผัก ดังนั้นการทำระบบน้ำเป็นสิ่งที่ดี และยังช่วยผ่อนแรงด้วย โดยเราสามารถทำเป็นระบบน้ำหยด, ระบบหัวพ่นน้ำ เพื่อให้ผักได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ

  • ดิน

ดินที่เหมาะสมสำหรับการทำสวนผักมากที่สุด คือ ดินทรายและดินร่วนที่มีการผสมกันในปริมาตรที่เหมาะสม ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีค่ากรด-ด่างอยู่ที่ ph 5-8 เป็นดินที่มีค่า ph เป็นกลาง และควรมีการพรวนดินบ่อย ๆ

  • ปุ๋ย

สามารถแบ่งการใส่ปุ่ยตามระยะการเติมโตของผักแล้วผลไม้ โดยเราจะใช้ปุ๋ยคอก เช่น มูลวัวมูลไก่ผสมกับเศษใบไม้วางรองพื้นในอัตรา 16 กก./18 ตร.ม. หรือ ประมาณ 1-1.5 กก./1 ตร.ม.

ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี เราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การใช่ปุ๋ยเคมีกับผักกินใบและผักกินผ

1. ผักกินใบ

ใช้ปุ๋ยเกรด 16-16-16 รองพื้นในอัตรา 150 กรัม/18 ตร.ม. ปุ๋ยยูเรียเกรด 46-0-0 ละลายน้ำรดในอัตรา 20 กรัม/น้ำ 10 ลิตร รดหลังจากเมล็ด งอก 15-20 วัน รดหลังย้ายกล้า 7 วัน และ 20 วัน

2. ผักกินผล

ใช้ปุ๋ยเกรด 16-16-16 รองก้นหลุมในอัตรา 10 กรัม/หลุมใส่ปุ๋ยยูเรียเกรด 46-0-0 โดยละลายน้ำรดในอัตรา 20 กรัม/น้ำ 10 ลิตรหลังเมล็ดงอก 7-10 วัน และใส่ปุ๋ยเกรด 16-16-16 หลังเมล็ดงอก 15-20 วัน ในอัตรา 10 กรัม/ต้น

การดูแล

โรคที่เกิดในสวนผัก เรามักจะเจอมากที่สุดในช่วงฤดูฝน เพราะมีปริมาณน้ำที่มากเกินไป และในอากาศก็มีความชื้นมาก ทำให้มีโรคพืชที่อาจจะกระจายไปสู่ผักอื่น ๆในสวน ซึ่งโรคพืชที่พบบ่อย คือ

ราน้าค้าง (Downy mildew) รักษาด้วยการ

  1. ฉีดพ้นเชื้อราไตรโคเดอร์มา สลับกับบีเอส ซึ่งใช้ได้ระยะที่ยังเป็นต้นกล้า – ระยะการเติบโต 
  2. ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกาจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บ, มาแน็บ หรือยาอื่น ๆ ที่มีสารทองแดง แต่สารที่มีทองแดงไม่ควรใช้กับต้นกล้าเพราะจะทำให้ตาย

โรคเน่าคอดิน (Damping off) รักษาด้วยการ

  1. เตรียมแปลงให้มีการระบายน้าดี อย่าให้น้าขังแฉะในแปลง
  2. ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยสารชีวภัณฑ์ อัตรา 100 กรัม : เมล็ด 1 กิโลกรัม
  3. เมื่อพบต้นเป็นโรค ขุดเอาดินและต้นเป็นโรคทาลายหรือฝังลึกนอกแปลง 

โรคใบจุด (Alternaria leaf spot) รักษาด้วยการ

  1. ไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย 
  2. ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง
  3. แช่เมล็ดในน้าอุ่น 50 องศาเซลเซียส 30 นาที
  4. ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโดเดอร์ม่า ทุกๆ 7 วัน

โรคราสนิมขาวในผัก (White Rust) รักษาด้วยการ

  1. ให้ฉีดพ่นใต้ใบด้วย เมตาแล็กซิล สลับกับแมนโคเซ็บ ผสมกับสารจับใบ ตามอัตราที่แนะนาบนฉลาก
  2. ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูก อย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป

โรคเหี่ยว (wilt) รักษาด้วยการ

  1. ถ้าพบโรคในแปลงต้องถอนต้นที่เป็นโรคเผาทาลาย 
  2. ก่อนปลูกพริกควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก

สำหรับศัตรูพืชที่เราเจอบ่อยก็จะเป็นพวกเพลี้ยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลี้ยงอ่อน เพลี้ยงแป้ง เพลี้ยไฟ หรือพวกหนอนชอนใบก็เจอมากในพวกมะกรูด มะนาว และหนอนด้วงก็มักจะเจอในผลของผัก เช่น มะเขือเทศ ในดินเราก็สามารถพบแมลงศัตรูพืช ที่เข้ามากัดกินทำลายรากของผักในสวนของเรา คือ แมงกระชอน ด้วงดิน จิ้งหรีด

และเราสามารถลดแมลงศัตรูพืชในสวนผักของเราแบบไม่ใช้สารเคมีคือ ขุดเป็นร่องน้ำเป็นเป็นที่อยู่ของพวกตัวห้ำตัวเบียนให้สามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ได้ ทำให้เกิดการควบคุมแมลงศัตรูพืชทางชีววิธีตามธรรมชาติ (Naturally Occurring Biological Control)

เกร็ดความรู้ ! ไตโคเดอร์ม่า

ไตโคเดอร์ม่าเป็นราที่เป็นมิตรกับคนและสัตว์ เป็นหนึ่งใน "ไอเทมสำคัญ" ที่เราอยากให้คุณมีติดไว้ในสวนผักของคุณ เพราะมันจะค่อยกำจัดโรคพืชให้กับสวนของคุณ แต่หลักการใช้ ไตโคเดอร์ม่าคือ ใช้อย่างสม่ำเสอ และควรรดหรือฉีดพ่นตอนเย็น หรือ หลังฝนตก

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี

  • มีผักปลอดสารพิษไว้กินในครอบครัว
  • มีสวนที่ให้ทั้งความสวยงามและอาหาร
  • เนื่องจากผักเป็นพืชล้มลุก จึงสามารถปรับเปลี่ยน หรือจัดสวนใหม่ได้ตลอด
  • สวนผักใช้เวลาปลูกไม่นาน
  • พืชผักบางชนิดเป็นสมุนไพร และส่งกลิ่นหอม เป็นตัวช่วยที่ใช้ไล่ หรือ ล่อแมลงไม่ให้ไปกัดกินผัก หรือ ต้นไม้ในแปลงอื่น ๆ
  • การจัดสวนผักสามารถประยุกต์เข้ากับการจัดสวนแบบอื่นๆ ได้หลากหลายจึงง่ายต่อการทำเป็นสวนประดับ

ข้อเสีย

หากปลูกเป็นสวนขนาดใหญ่ต้องค่อยดูแลในเรื่องน้ำ และโรคพืช ศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ

มีค่าใช้จ่ายในเรื่องปุ๋ยหรือวัสดุปลูกมากหน่อย แต่ถ้ามีการทำปุ๋ยหมักใช้เองก็จะดี

เกร็ดความรู้ ! ไล่แมลงยังไงให้สวยผักของคุณสวย...

สิ่งหนึ่งที่เราควรทำในสวนของเราเพื่อให้เราใช้ยาฆ่าแมลงน้อยที่สุด คือ การปลูกดอกไม้และการปลูกสมุนไพร ที่มีกลิ่นหอม เพื่อใช้เป็นตัวล่อแมลงไม่ให้มาไข่ในดินหรือผักที่เราปลูกอยู่ โดยปลูกดอกไม้รอบนอก หรือ ใจกลางสวน ก็จะช่วยได้มาก
การจัดสวนผัก
credit : A Piece of Rainbow

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร(ศวพก.)
ศัตรูพืช