มะระจีน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Bitter Gourd ,Balsam apple, Leprosy Gourd, Bitter melon ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn. var. maxima Williums & Ng วงศ์: CUCURBITACEAE พืชสมุนไพรยอดนิยมของคนไทย มากมายคุณประโยชน์ทั้งยังเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารหลากหลายชนิดของไทย
มะระจีน แม้ว่าจะมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษด้วยกันหลากหลายชื่อ แต่ทั้งหมดนั้นล้วนสื่อความหมายเป็นพืชชนิดเดียว สิ่งที่ทำให้คนไทยบางส่วนเข้าใจผิดเกี่ยวกับมะระจีนและมะระไทยหรือมะระขี้นกนั้นก็คือ คนไทยมักเข้าใจผิดคิดว่าทั้งสองสายพันธุ์นี้เป็นชนิดเดียวกัน โดยมะระจีนนั้นจะเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ที่ไม่ชอบรสขม เพราะมะระขี้นกนั้นมีความขมมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มะระจีนกลายเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในท้องตลาด
ถิ่นกำเนิด มะระจีน
มะระจีนเป็นพืชเขตร้อน จึงมักผมเห็นได้ในเอเชีย และไทยเองก็ปลูกพืชชนิดนี้เป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเนื่องด้วยรสชาติที่ไม่ขมจนเกินไปทำให้บริโภคได้ง่าย แม้ว่าจะได้รับความนิยมจากไทยมานานแล้ว แต่ก็ไม่ใช้พืชที่ถือกำเนิดในไทยตั้งแต่แรก หากแต่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลต่อมาอีกทีจากประเทศในแถบจีนตอนใต้ที่อยู่ติดกับอินเดีย ทำให้พืชชนิดนี้ดูเหมือนจะเป็นพืชรวมสัญชาติ คนไทยจึงให้ชื่อเรียกว่ามะระจีน
โดยมะระจีนนั้นมีความคล้ายคลึงกับมะระทั่วไปจนแยกกันแถบไม่ออก เพราะเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับแตง เป็นไม้เรื้อยและการเจริญเติบโตที่เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่รสชาติเท่านั้น และอายุการปลูกก็อยู่ได้เพียงปีต่อปี ซึ่งแตกต่างกับมะระหวาน ที่สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้นานถึง 4 ปี
วิธีการปลูกมะระจีนอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี
มะระจีนเป็นพืชที่นิยมปลูกกันปีต่อปี อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องเลือกฤดูกาล เพราะสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรนิยมนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอายุพืชที่สั้นและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ทว่า ปัจจุบันมีเกตษรกรหลายรายที่นำพืชชนิดนี้ไปปลูกเสริมในแปลงที่ปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น ๆ ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ จึงทำให้มะระจีนกลายเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญและสามารถสร้างรายได้ระหว่างรอพืชหลักเจริญเติบโต โดย วิธีการปลูกพืชชนิดนี้ก็ไม่ยาก เพียงทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เตรียมดิน โดยการไถพลวงดินเพื่อให้ดินเกิดความร่วนซุยและให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้รากพืชมีอากาศหายใจ หลังจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้ดินตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียในดิน เพื่อป้องกันรากเน่า
- ใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินที่จะทำการปลูกประมาณ 1 ตัน/ไร่ และใส่ปุ๋ยเคมี 30กก.ต่อไร่ แล้วทำการไถกลบซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อปรับหน้าดินให้เป็นร่องตามที่ต้องการ โดยร่องที่จะปลูกต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร แล้วทิ้งเอาไว้ 2-3 วัน
- นำต้นกล้าลงร่อนดินที่เตรียมไว้ โดยเว้นระยะห่างหลุมละ 1-2 เมตร แล้วจึงรดน้ำให้ชุ่ม
แม้ว่ามะระจีนเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาลก็จริง อีกทั้งยังสามารถขึ้นได้ในดินทุกประเภท แต่ทว่า สิ่งที่ต้องห่วงมากที่สุดก็คือความชื้นในดิน เพราะต้องควบคุมให้สม่ำเสมอ และถูกแสงแดดตลอดทั้งวัน พืชจึงจะเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
สรรพคุณ มะระจีน ที่คุณไม่ควรพลาด
หวานเป็นลม ขมเป็นยา สำนวนไทยคำนี้ยังคงใช้ได้ดีเสมอ มะระจีนประโยชน์มีมากมาย ที่นอกจากจะเป็นวัตถุดิบอาหารที่แสนอร่อยแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่ทรงคุณค่ามากอีกด้วย กับคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้
ข้อดี
- แก้ไข้หวัด ฟกช้ำ บำรุงน้ำดี ด้วยการนำใบมะระจีนมาต้มดื่ม
- ผิวหนังแห้ง ระคายเคือง ผิวหนังอักเสบ ใช้ใบมะระจีบบดแล้วทา
- ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
- ลดความดันโลหิต เป็นต้น
ข้อเสีย
ทั้งนี้ มะระจีนยังมีคุณประโยชน์ทางยาอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ทว่า หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจเป็นภัยได้ เช่น
- หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน มีการทดลองแล้วว่า สารสกัดที่อยู่ในผลของมะระจีน มีส่วนช่วยในการขับเลือด ซึ่งอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดอาการตกเลือดถึงขั้นแท้งได้
- ผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD)ไม่ควรรับประทานเมล็ด เพราะจะส่งผลข้างเคียงจนเกิดอาการ ปวดศีรษะ โลหิตจาง เป็นไข้ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ทั้งหมดนี้เนื่องมาจาก มะระจีนประกอบไปด้วย วิตามินเอ9% วิตามินบี1,2,3,5,6 2% วิตามินซี โฟเลต17% สังกะสี5% เป็นต้น แม้ว่าจะมีคุณประโยชน์ทางยา แต่ก็ควรบริโภคแต่พอดี เพื่อสุขภาพที่ดีของท่านเอง
เมนูเด็ด มะระจีน กับความนิยมในการรังสรรค์
โดยปกติแล้วอาหารไทยจะประกอบไปด้วยเทคนิค ผัด ต้ม เป็นหลัก ทำให้มะระจีนที่นำมาทำเป็นเมนูอาหารก็ได้รับอิทธิพลนี้ด้วย กันเมนูยอดฮิตดังนี้
- มะระจีนผัดไข่ เมนูง่าย ๆ แสนอร่อย อีกทั้งยังคงคุณค่าทางอาหารได้เป็นอย่างดี เพราะมะระจีนที่ไม่ได้ผ่านความร้อนมาก ทำให้สารอาหารยังคงอยู่ และเนื้อสัมผัสกรอบหวานนี้ ช่วยเพื่อความอยากอาหารให้มากยิ่งขึ้น
- ต้นจืดมะระจีนยัดไส้หมูสับ เมนูเพื่อสุขภาพ เพราะจะได้ซดน้ำมะระที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ อีกทั้งกระตุ้นความอยากอาหารได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้แล้ว มะระจีน ยังเป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารที่ถูกนำมาดับแปลงให้เข้ากันกับอาหารไทยชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย และมีความนิยมในการรับประทานที่แตกต่างออกไป ตามแต่ภูมิภาคของไทย.
ที่มา
https://www.technologychaoban.com
https://www.doctor.or.th