ข่า เครื่องเทศรสชาติเผ็ดร้อน พร้อมคุณประโยชน์มากมาย สไตล์สมุนไพรไทย

ข่า ภาษาอังกฤษ : Galanga, Greater galangal, False galangal

ข่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (L.) Willd.

ข่า ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ : กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง), ข่าใหญ่, ข่าตาแดง, ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)  , สะเอเชย เสะเออเคย (แม่ฮ่องสอน)

ข่า เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเรารวมทั้งอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้นับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย เป็นสมุนไพรไทยที่คนไทยพบเห็นและคุ้นเคยกับเครื่องเทศที่ประกอบอยู่ในเมนูอาหารไทยรสชาติจัดจ้าน ทั้งต้มข่า ต้มยำ ต้มแซ่บ ก๋วยเตี๋ยว หรือน้ำพริก เพิ่มความหอมและรสชาติให้กลมกล่อม อร่อยมากยิ่งขึ้น แถมยังมาพร้อมกับคุณสมบัติในเรื่องของการรักษาโรค และคุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายมากมายที่คุณยังไม่รู้ และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราจะพาคุณไปทำความรู้จักสมุนไพรชนิดนี้ผ่านบทความในครั้งนี้กันเลย

ข่า ชื่อวิทยาศาสตร์

ลักษณะทั่วไป

ข่า ลักษณะเป็นพืชล้มลุกตระกูลขิง ที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เรียกว่า “เหง้า” มีสีน้ำตอมแสด เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีลักษณะเป็นข้อปล้องสั้น ลักษณะใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เรียงสลับรอบลำต้น ดอกและผลจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด เมื่อดอกยังอ่อนจะมีสีเขียวปนเหลือง เมื่อดอกแก่จะมีสีเชียวปนม่วงแดง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวหรือชาวอมชมพู โคนเชื่อมติดกันตลอด มีใบประดับย่อยเป็นแผ่นรูปไข่ ส่วนผล จะมีลักษณะเป็นผลแห้งแตก ทรงกลมรี เปลือกแข็ง ขนาดประมาณ 0.5-1 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดงดอมส้ม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ภายในมีเมล็ดสี 1 ดอก จะติดเพียง 1 ผล พบมากในจ.นครนายก ลพบุรี เลย ตราดและชลบุรี ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

สายพันธุ์ ข่าที่นิยมปลูกมี 4 สายพันธุ์

1.ข่าป่า 

ต้นข่า ลักษณะ

เป็นพืชท้องถิ่นในอินโดนีเซียและมาเลเซียที่ พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น มีลักษณะลำต้นสูง ลำต้น และใบคล้ายกับข่าที่ปลูกทั่วไป หัวมีกลิ่นฉุนน้อย 

2.ข่าลิง (ข่าน้อย) 

ข่า ลักษณะ

ข่าลิงมีลักษณะคล้ายข่าทั่วไป ลำต้นมีขนาดเล็ก เนื้อในมีสีขาว ผล มีลักษณะกลม ผลแก่สีส้มถึงแดง ปลายผลมักมีกลีบแห้งติดอยู่ พบมากในจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี และสกลนคร

3.ข่าคม 

ข่า สรรพคุณ
http://www.qsbg.org

มีลักษณะใบมน มีขนละเอียดสีขาวปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกมีใบประดับ กลีบดอกสีขาว แผ่เป็นแผ่น และมีแถบสีเหลืองส้มบริเวณกลางกลีบดอก

4.ข่าน้ำ (เร่วน้อยหรือหน่อกะลา) 

เหง้าข่า

หน่อกะลาหรือข่าน้ำชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุก ที่มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เป็นข่าพื้นบ้านที่ปลูกเพื่อจำหน่ายของ อ.ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 

การเตรียมดิน

ต้นข่าจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะเนื้ออ่อน เหมือนขิง ขมิ้น โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุสูง ดินชุ่มชื้น และไม่มีน้ำท่วมขัง โดยเริ่มจากการพรวนหน้าดินให้ลึกอย่างน้อย 50 ซม. กลบทับด้วยปุ๋ยแกลบ ตากไว้ประมาณ 7 วัน พร้อมกำจัดวัชพืช จากนั้น ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกครั้ง และตากแดดประมาณ 2-5 วัน ก่อนปลูก ดินแบบนี้ข่าจะเจริญเติบโตได้ดี

วิธีปลูก 

การเตรียมเหง้าปลูก ควรเลือกเหง้าข่าอายุประมาณ 1.6 ปี โดยตัดต้นเทียมออก ให้เหลือต้นเพียง 1-2 ต้นที่ติดกับเหง้าประมาณ 15-20 ซม. เหง้ามีแง่งประมาณ 1-2 แง่ง ตัดรากที่ยาวทิ้ง โดยก่อนจะนำลงดิน ควรล้างน้ำเอาดินที่ติดอยู่ต้นออกให้สะอาดก่อน จากนั้นก็ให้นำไปแช่ใน น้ำยาเร่งราก เสร็จแล้วก็ให้นำไปเพาะไว้ในขุยมะพร้าวที่ชุ่มน้ำ รอเวลา 10-15 วัน จะเริ่มมีรากอ่อนงอกออกมา ค่อยนำไปปลูกลงดินที่เตรียมไว้ได้เลย ในช่วงเดือนแรก รดน้ำ 2 ครั้ง เช่น รดในวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน โดยให้รดที่แปลง หรือที่ภาชนะปลูกข่า หากดินยังมีความชุ่มชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรดเพิ่ม 

การเก็บเกี่ยว

ตัดบริเวณหัวออก ถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ และต้องคอยตรวจดู เมื่อข่ามีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องนำออกมาหรือแยกออกไปปลูกใหม่ จะช่วยให้ข่าขยายกอใหญ่เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ เป็นการแตกหน่อ จะทำให้การปลูกข่าและการขยายพันธ์ข่าได้ผลผลิตมากขึ้น

ข่า สรรพคุณ

โทษของข่า

ต้น :

นำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณข้อต่อต่างๆ มีสรรพคุณ ช่วยบรรเทาการปวด ลดอาการเป็นตะคริว แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ

  ผล :

ใช้ผลแก่กินเป็นยาช่วยย่อยอาหาร เป็นยาฆ่าเชื้ออ่อนๆ แก้ปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียน

  ราก :

นำมาทุบให้แตกแล้วต้มกับน้ำ ใช้ดื่มละลายเสมหะในคอ แก้โรคเหน็บชา

  ดอก :

ใช้ดอกสดๆ นำมายีให้ละเอียด ทาผิวหนังรักษากลากเกลื้อน

เหง้า :

ใช้เหง้า แก่จัดนำมาทุบหรือซอยให้ละเอียดแล้วต้มกับน้ำ ใช้ดื่มแก้อาการท้องอืด แก้โรคปวดบวมตามข้อ ช่วยปรับสมดุล ระบบหายใจ บำรุงปอด ขับลมในกระเพาะและลำไส้ หรือใช้เหง้าแก่จัดมาทุบให้แตก แล้วใช้น้ำทาตามผิวหนัง แก้โรคกลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ลมพิษ 

โทษของข่า

ถึงแม้ว่าข่าจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้ แน่นอนว่าทุกอย่างมากไปย่อมไม่ และยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าควรใช้ในปริมาณเท่าใดจึงจะปลอดภัย โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่ต้องให้นมบุตร เนื่องจาก ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ข่าในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าวที่ยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้ ข่ายังอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคบางชนิดอย่างยาลดกรดหรือยาที่มีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้ยาลดกรดที่รับประทานมีประสิทธิภาพลดน้อยลง ดังนั้น ก่อนใช้ข่าหรือผลิตภัณฑ์จากข่าจึงควรปรึกษาแพทย์และทำตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด.

ที่มา

http://www.phargarden.com

https://www.pobpad.com

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้