ไก่แจ้ สัตว์เสริมดวงมงคล พร้อมวิธีการเพาะเลี้ยงดูแล

ไก่แจ้ เป็นไก่พื้นเมือง จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ที่มีความสวยงาม มีสีสันหลากหลาย แต่เดิมไก่แจ้เป็นไก่ป่า ซึ่งมีความปราดเปรี๊ยว ขี้ระแวง เข้าใกล้ไม่ได้ แต่ปัจจุบันไก่แจ้ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้อยู่ร่วมกับผู้เลี้ยง จับต้องอุ้มได้ เลี้ยงไม่ยุ่งยาก มีความน่ารัก ขี้เล่น และเชื่อฟังคำสั่ง เลี้ยงแล้วมีความสุข จนตอนนี้ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 30 ปี จนได้ลักษณะสีของไก่แจ้ถึง 12 สี ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ทั้งนั้นสมาคมอนุรักษ์ไก่แจ้ไทยได้กล่าวไว้ว่าไก่แจ้เป็นสัตว์ที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้เพื่อเสริมดวงมงคล บารมี ความสุข และไว้ประกวดแข่งขัน จากคุณสมบัติของไก่แจ้ที่หลากหลายและแตกต่างกันไป ซึ่งเราควรอนุรักษ์พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้ดำรงชีวิตให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

ลักษณะของไก่แจ้ ตามมาตรฐาน

เพศผู้

หัวขนาดปานกลาง หงอนใหญ่หนาสีแดง มีจัก 4-5 จัก เหนียงใหญ่ ปากสั้น ตากลมโตสว่างสดใส ติ่งหูกลมรี คอสั้นมีขนหนาสวยงาม ลำตัวกลมเล็ก กว้าง สั้น และลึก อกใหญ่กลม ท้องสั้นกลมเตียน ปีกยาวขนานลำตัว หลังกว้างสั้น หาง มีหางชัย 2 เส้นยาว ใบใหญ่ ปลายมน ตั้งตรง แข้งใหญ่กลมสั้นแข็งแรง นิ้วเท้าสวยเป็นสัดส่วน ขนสะอาด นุ่ม หนา แน่น เป็นเงา และน้ำหนักตัวประมาณ 730 กรัม ถ้าน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน

เพศเมีย

มีลักษณะเหมือนเพศซึ่งมีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ดังนี้หัวกลมปานกลางแต่ทั่วไปจะเล็กกว่าตัวผู้ หงอนใหญ่มีจัก 4 จัก หางยาวใบใหญ่ ปลายมน เป็นระเบียบแผ่กว้างสวยงาม และน้ำหนักตัวประมาณ 610 กรัม ถ้าน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐานเกิน 120 กรัม ถือว่าไม่ได้มาตรฐาน

เลี้ยงไก่แจ้
farmchannelthailand.com

สีของไก่แจ้ตามมาตรฐานสากล

  • สีขาว
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีส้มปนแดง จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว จะเป็นสีเหลือง และเล็บสีขาว ส่วนจุดเด่นที่สำคัญขนจะต้องเป็นสีขาวทั้งตัว ไม่มีสีอื่นๆ
ไก่แจ้สีขาว
steemit.com
  • สีดำ
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีสนิมเหล็ก จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว และเล็บจะเป็นสีดำ ส่วนลำตัวขนเป็นสีดำทั้งตัว ไม่มีสีอื่นๆ
ไก่แจ้สีดำ
  • สีทอง
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีเหลืองปนส้ม จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว จะเป็นสีเหลือง ส่วนลำตัวขนสีทองทั้งตัว ขนปีกมีสีดำแซม และขนหางจะมีสีดำขอบทอง
ไก่แจ้สีทอง
www.bloggang.com
  • สีลายดอกหมาก
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีส้มปนแดง จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว จะเป็นสีเหลือง และเล็บสีขาว ส่วนของขนบริเวณลำตัว หางและปีก จะเป็นสีดำทั้งหมด แต่ส่วนบนขนของลำตัวมีสีขาวปนสีน้ำเงิน หน้าอกมีขนสีดำขอบสีน้ำเงินเป็นลายเข้าหลามตัดเด่นชัด
ไก่แจ้สีลายดอกหมาก
www.bloggang.com
  • สีกระดำ หรือ สีลายข้าวตอก
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีส้มปนแดง จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว, เล็บ จะเป็นสีเหลือง ส่วนลำตัวมีขนสีดำแต่บริเวณปลายขนมีจุดสีขาวทั้งตัว ขนหางและปีกสีดำแต่สามารถมีสีขาวได้เพียงเล็กน้อย
ไก่แจ้สีกระดำ
  • สีกระทอง 
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีเหลือง จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว, จะเป็นสีเหลือง และเล็บสีขาว ส่วนลำตัวมีขนสีดำแต่บริเวณปลายขนมีจุดสีขาวทั้งตัว ขนหางและปีกสีดำแต่สามารถมีสีขาวได้เพียงเล็กน้อย แต่มีสีพื้นเป็นสีทองเท่านั้น
ไก่แจ้สีกระทอง
  • สีลายบาร์ 
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีส้มปนแดง จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว, จะเป็นสีเหลือง และเล็บสีขาว ส่วนลำตัวขนมีสีเทาเงิน กับ สีเทาเข้ม สลับกันเป็นลวดลายทั้งตัว
ไก่แจ้สีลายบาร์
Facebook, สมาคมอนุรักษ์ไก่แจ้แห่งประเทศไทย
  • สีเทา หรือ เทานกพิราบ
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีมั้งหมด 3 สี คือ สีแดง สีส้มปนแดง สีน้ำตาลเข้ม จงอยปาก แข้ง, นิ้ว, และเล็บจะเป็นสีเทาอมดำ ส่วนลำตัว สร้อยคอ มีขนเป็นสีเทา แต่สร้อยคอจะมีสีเข้มกว่าบริเวณลำตัวเล็กน้อย
ไก่แจ้สีเทา
Facebook, สมาคมอนุรักษ์ไก่แจ้แห่งประเทศไทย
  • สีขาวหางดำ  
    ในส่วนของตัวผู้นั้นใบหน้า, หงอน, เหนียง และติ่งหู จะเป็นสีแดง ใบหงอนจะเป็นตุ่มเล็กๆคล้ายเม็ดทราย บริเวณรอบตาดำจะมีสีส้มปนแดง จงอยปาก, แข้ง, นิ้ว จะเป็นสีเหลือง และเล็บสีขาว ส่วนลำตัวมีขนเป็นสีขาว ขนปีกชั้นแรกจะมีสีดำแซมขนชั้นนอกเป็นสีขาวทั้งหมด หางพัดจะมีสีดำเท่านั้น
ไก่แจ้สีขาวหางดำ
www.kasetporpeang.com
  • สีลายสามสี
    ตัวผู้ตั้งแต่ ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีน้ำตาล บริเวณลำตัว ใต้ท้อง ปีก และหาง จะมีสีน้ำตาล สีดำแกมเขียว สีขาว สีน้ำตาลเข้ม และสีเทาแซมตามจุดของร่างกาย
ไก่แจ้สีลายสามสี

สีของไก่แจ้ไทย

กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ได้กล่าวไว้ว่า สีของไก่แจ้ไทยมีดังนี้ สีไก่ป่าเหลือง สีไก่ป่าเข้ม  สีไก่ป่าหูขาว สีโนรี สีประดู่ สีเหลืองหางขาว สีเบญจรงค์ สีสร้อยสุวรรณ สีเหลืองลูกปลา สีเหลืองดอกโสน สีกาบอ้อย และสีกาบหมาก  ซึ่งไก่แจ้จะมีลักษณะเอกลักษณ์ ใบหน้า ใบหงอน เหนียง ติ่งหู จงอยปาก มีสีแดงสดเหมือนกันทุกสี  ถ้าแยกความสวยงามขนแต่ล่ะสีมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน  สามารถจำแนกแต่ล่ะสีได้ดังนี้

  • สีไก่ป่าเหลือง
    ตัวผู้ ขนหัว สร้อยคอ ระย้า ขนปีก และขนหลัง มีสีส้มแดง ปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำเงินอมม่วง  ขนอก ใต้ท้อง หาง เป็นสีดำแซมด้วยสีดำเหลือบเขียว ส่วนตัวเมีย สร้อยคอ สีน้ำตาลอมแดง ขนทั้งตัวจะเป็นสีครีมนวล มีน้ำตาลและดำแซมบริเวณหางกับปีก
ไก่แจ้สีไก่ป่าเหลือง
  • สีไก่ป่าเข้ม
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีน้ำตาลอมแดง ขนหลังและปีกเป็นสีเม็ดมะขาม ขนอก ใต้ท้องเป็นสีดำ ขนหางและส่วนอื่นๆมีเป็น สีเหลือง สีเหลืองอมเขียว สีเขียว และสีเขียวอมเทา ส่วนตัวเมีย ขนทั้งตัว มีสีนวล และสีน้ำตาลอมดำแซม
ไก่แจ้สีไก่ป่าเข้ม
  • สีไก่ป่าหูขาว
    ทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีสีเหมือนกับไก่ป่าเหลือง และ สีไก่ป่าเข้ม แต่มีจุดเด่นบริเวณใบหูเป็นสีขาว
ไก่แจ้สีไก่ป่าหูขาว
  • สีโนรี 
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีส้มแดง ปีกทั้งสองสีเขียวเหลือบ หางทั้งหมดเป็นสีดำมันเหลือบ ส่วนตัวเมีย ตั้งขนหัวถึงลำตัว เป็นสีน้ำตาลแดงจัด บริเวณหางเป็นสีน้ำตาลดำ
ไก่แจ้สีโนรี
Facebook, บุญมี ไก่แจ้ โคราช
  • สีประดู่
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีเม็ดมะขาม หลังและปีกสีน้ำตาลเข้ม  ส่วนลำตัว หน้าอก ใต้ท้อง และหาง เป็นสีดำมันเหลือบเขียวทั้งหมด ส่วนตัวเมีย ขนทั้งตัวเป็นสีดำ บางจุดบางบริเวณมีสีส้มปนแดง สีเขียว สีเขียวอมเหลือง แซมตามร่างกาย
ไก่แจ้สีประดู่
Facebook, บ้านไก่สวย ไก่แจ้สวยงาม
  • สีเหลืองหางขาว
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า หลังและปีก จะเป็นสีเหลืองออกส้ม บริเวณหน้าอก ลำตัว หางทั้งหมดจะเป็นสีดำและมีสีขาวแซม หรือสีขาวมากกว่าสีดำ  ส่วนตัวเมีย สีขนทั้งตัวเป็นสีดำ อาจมีสีขาวแซมเป็นหย่อมๆ
ไก่แจ้สีเหลืองหางขาว
www.technologychaoban.com
  • สีเบญจรงค์
    ตัวผู้  ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีแดงทับทิม ปลายขนเป็นสีงาช้าง บริเวณหน้าอก ลำตัว หางเป็นสีน้ำตาลแดง แซมด้วยสีดำเหลือบเขียว ส่วนตัวเมีย ขนสีคล้ายนกกระจอก  โดยมีสีครีมนวล สีน้ำตาลเทา และบางส่วนเหมือนกับตัวผู้
ไก่แจ้สีเบญจรงค์
  • สีสร้อยสุวรรณ
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีส้ม บริเวณขนหน้าอก ลำตัว ใต้ท้อง หลัง หาง และปีกสีดำมันเหลือบเขียว บางจุดบางบริเวณ สีเทา สีส้ม แซมตามร่างกาย ส่วนตัวเมีย ขนทั้งตัวเหมือนกับตัวเมียสีเหลืองลูกปลา และส่วนอื่นเหมือนกับตัวผู้
ไก่แจ้สีสร้อยสุวรรณ
  • สีเหลืองลูกปลา
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีส้มแดง บริเวณขนลำตัว ใต้ท้อง หาง และปีก จะมีสีดำมันเหลือบ สีส้มแดง และดำด้าน แซมสลับกัน ส่วนตัวเมีย สีขนทั้งตัวจะเป็นสีดำ มีจุดเด่น สร้อยขลิบด้วยสีส้มแดง
ไก่แจ้สีเหลืองลูกปลา
www.kaidee.com
  • สีเหลืองดอกโสน
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีเหลือง บริเวณหลัง ลำตัว ใต้ท้อง ปีก และหาง จะมีสีดำเหลือบเขียว สีดำ สีน้ำตาลแดง และสีเหลืองอมน้ำตาล ส่วนตัวเมีย สีขนคล้ายสีไก่ป่าเหลือง แต่สีขนบริเวณสร้อยคอเป็นสีครีมนวล หลัง  ปีก และหาง เป็นสีนวลอมน้ำตาล
ไก่แจ้สีเหลืองดอกโสน
group.wunjun.com
  • สีกาบอ้อย
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีครีมอมน้ำตาล  บริเวณขนหลัง หน้าอก ใต้ท้อง หาง และปีก จะมีสีน้ำตาลแดง สีครีมนวล  สีดำเหลือบเขียว  สีน้ำตาลอ่อน ส่วนตัวเมียขนทั้งแต่หัวลงไปเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลอมดำ จนถึงปลายหาง
ไก่แจ้สีกาบอ้อย
  • สีกาบหมาก
    ตัวผู้ ตั้งแต่ขนหัว สร้อยคอ ระย้า เป็นสีขาว ไม่มีสีดำปน บริเวณขนหลัง ลำตัว ปีก และหาง มีสีเหลืองอมขาว สีดำเหลือบเขียว ส่วนตัวเมียขนตั้งแต่หัว เป็นเทาอมน้ำตาล หน้าอก ลำตัว ใต้ท้อง มีสีครีมนวล และ สีน้ำตาลอมดำ
ไก่แจ้สีกาบหมาก
chanchon5302.blogspot.com

การเลือกไก่แจ้เมื่อยังเด็ก

สมัยเด็กเราเห็นไก่แจ้กับไก่ชนที่วิ่งเล่นไปมาซึ่งก็ต่างมีลักษณะที่เหมือนกัน แต่เวลาเราเห็นลูกไก่ซึ่งไม่ค่อยมีสีสันแตกต่างจากไก่ที่โตเต็มวัยมีสีสันที่สวยงาม ดังนั้นลูกไก่ที่เราเห็นนั้นไม่สามารถเห็นลักษณะสีสันและรูปร่างที่ชัดเจนว่าโตมาจะมีสีสันอย่างไร เพราะฉะนั้นเราจะมีวิธีที่สังเกตลูกไก่ได้ว่าเมื่อโตขึ้นจะมีสีและลักษณะที่เด่นชัดได้ดังนี้

  1. ไก่แจ้สีขาว มีลักษณะที่เด่นชัด ตั้งแต่เกิดจนโตเป็นสีขาวตลอดทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่หงอนของไก่นั้นจะสังเกตุได้เมื่อมีอายุมากกว่า 40 วันขึ้นไป
  2. ไก่แจ้สีดำ เราจะสามารถเห็นว่าอายุ 1-2 อาทิตย์แรก บริเวณปลายปีกทั้งสองข้าง สร้อยคอ และบริเวณท้องจะมีสีขาว เล็บขาว ส่วนขนของไก่ก็เริ่มมีลักษณะสีดำด้าน เมื่อโตเต็มวัยสีดำก็จะเพิ่มมากขึ้นและสีขาวเริ่มหายไป พออายุ 1 ปี เล็บขา ใบหน้าก็จะมีสีดำเด่นเงางาม
  3. ไก่แจ้สีทอง เราเห็นได้ว่าตอนที่เป็นลูกไก่ ลำตัวจะมีขนสีเหลือง พอลูกไก่เริ่มมีอายุ 1-2 อาทิตย์ บนลำตัว หัว และบริเวณปลายหางของลูกไก่จะมีขนเป็นสีเหลือง แต่บริเวณปลายหางนั้นจะมีขนสีดำแซมอยู่ด้วย จากนั้นไก่แจ้สีทอง เพศผู้ จะมีสีเข้มหว่าเพศเมีย
  4. ไก่แจ้สีกระ เราเห็นลูกไก่จะมีสีขาวเกือบทั้งตัวแต่บริเวณลำตัวนั้นจะมีทั้งสีขาวหรือสีดำก็ได้ แต่ส่วนบริเวณหัวด้านหลังจะมีจุดสีดำขึ้นอยู่กับบางตัวจะมีจุดน้อยหรือจุดมาก
  5. ไก่แจ้สีดอกประดู่ จากที่เราเห็นลูกไก่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย เมื่อลูกไก่มีอายุ 1-2 เดือน จะเริ่มมีลายตามปีกด้านหลัง หัว และปลายหาง จะสังเกตุได้ว่าสีของตัวผู้จะเพิ่มชัดมากขึ้นกว่าตัวเมีย เมื่ออายุของไก่ตัวผู้และตัวเมียโตเต็มวัยจะเห็นสีที่แตกต่างกันชัดเจน
  6. ไก่แจ้ขาวหางดำ เราจะเห็นได้ว่าลูกไก่จะมีสีขาว เมื่อลูกไก่อายุ 35-40 วัน ขนบริเวณปลายหางจะมีสีดำชัดเจนแต่บริเวณลำตัวจะมีสีขาว
  7. ไก่แจ้สีโกโก้ เราจะเห็นได้ว่าตอนเป็นลูกไก่จะมีสีโกโก้ชัดเจน แต่เมี่อโตขึ้นสีก็จะจางลง ส่วนบริเวณหางและปลายปีกของเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย
  8. ไก่แจ้สีโกโก้บาร์ เราจะเห็นว่าตอนเป็นลูกไก่เราจะเห็นสีไม่ชัดเจน มองไม่เห็นลวดลาย แต่พออายุมากขึ้น บริเวณบนหัวจะมีจุดสีขาวขนาดใหญ่ขึ้น และลายบาร์มีทั่วทั้งลำตัว
  9. ไก่แจ้สีดอกหมาก เราจะเห็นว่าตอนเป็นลูกไก่ บริเวณลำตัวจะมีสีดำ หูมีจุดสีขาว พอลูกไก่มีอายุเดือนกว่าๆ จะเริ่มมีลายบนสร้อยคอ พอโตเติมวัยตามลำตัวก็จะมีลายดอกหมากมากขึ้น
  10. ไก่แจ้ลายบาร์ เราจะเห็นได้ว่าลูกไก่อายุ 1-2 อาทิตย์แรก ขนบริเวณลำตัวจะเป็นสีเทาและขาวมน พอลูกไก่เริ่มโตขึ้นสีเทาก็จะเห็นได้ชัดขึ้น ส่วสีขาวหม่นก็จะกลายเป็นสีเทาเงินแต่จะอยู่ในช่วงอายุ 8-9 เดือนขึ้นไป ทั้งลำตัว

การขนย้ายไก่แจ้

อันดับแรกเราจะต้องมีกรงหรือตะกร้า ส่วนภายในของตะกร้าจะต้องแบ่งเป็นช่องๆ มีกระดาษและขี้เลื่อยไว้ดูดซับความชื้นจากอุจจาระ ในระหว่างการลำเลียง อย่าให้มีลมเข้าไป อย่าให้ลูกไก่ตกใจและได้รับบาดเจ็บเด็ดขาด เมื่อเราขนย้ายมาถึงบ้าน เราจะต้องนำไก่แจ้ใส่ไว้ในเล้าหรือโรงเรือนที่เตรียมไว้ โดยจะต้องมีผ้ารองพื้น อาหาร และน้ำ จากนั้นเราก็ปล่อยให้ไก่อยู่ตามลำพัง เพื่อปรับสภาพแวดล้อม ถ้าหากในกรณีที่เรามีไก่อยู่แล้ว ให้เราแยกไก่ที่นำมาใหม่ออกจากกันอย่างเด็ดขาด จากนั้นวันรุ่งขึ้นเราก็เริ่มเรียนรู้ ทำความรู้จัก พูดคุยกับไก่ตัวใหม่ โดยเราจะต้องมอบความรักความเมตตาด้วยการให้อาหารด้วยมือ โดยก้มลำตัวต่ำลง พูดคุยเบาๆ อย่าให้ไก่แจ้ตกใจ ถ้าหากมีไก่ตัวใดตัวหนึ่งเข้ามากินอาหารจากมือเรา ไก่ตัวอื่นๆก็จะตามมากินด้วยเช่นกัน ไก่ก็เริ่มเรียนรู้และปรับตัวทำให้เราสามารถเลี้ยงดูได้ง่าย แต่ช่วงแรกๆ ไก่อาจจะมีการตกใจและไม่คุ้นชิน เราจะต้องคอยเอาใจใส่ จับต้องตัว อุ้ม ลูบไล้หัว คอ และแก้มแบบนี้ไปเรื่อยๆจนไก่คุ้นชินกับเรา ดังนั้นการที่เรานำไก่แจ้มาเลี้ยง เราจะต้องมีเพื่อนให้กับมัน เพราะถ้าเราเลี้ยงเพียงลำพัง อาจทำให้ไก่เป็นโรงซึมเศร้าและตายได้ ดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นเลี้ยงไก่แจ้เราจะต้องมีไก่แจ้ ตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 2 ตัว มันจะรู้สึกเหมือนเป็นครอบครัว แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนไปเรื่อยๆ

กล่องใส่ไก่แจ้

โรงเรือนไก่แจ้

สำหรับโรงเรือนและเล้าของไก่แจ้ จะเป็นที่อยู่อาศัยพักพิ่งในการกันแดด กันฝน กันลม ความปลอดภัยจากสัตว์ที่เข้ามาทำร้ายได้และการเพาะเลี้ยงไก่แจ้นั้นก็เพื่อความสวยงามและสร้างความสุข ดังนั้นโรงเรือนและเล้าจะต้องมีความเรียบร้อย สะดวกในการเลี้ยงดูสามารถเดินเข้าไปมาได้ เคลื่อนย้ายได้ นอกจากนั้นสถานที่ไก่แจ้จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีแดดเช้าๆส่องเข้ามาในโรงเรือน มีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ และในช่วงฤดูฝนระวังระอองเข้าไปในโรงเรือนด้วย ถ้าเรามีองค์ประกอบเหล่านี้ก็จะทำให้ง่ายต่อการเลี้ยงดูตลอดเวลา

สำหรับกลุ่มที่เลี้ยงไก่แจ้ครั้งแรก ต้องการสร้างโรงเรือนจะต้องคำนึงเรื่องพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนไก่ โดยผู้เลี้ยงสามารถกำหนดความกว้าง ความยาว และความสูง ตามความพึ่งพอใจ สะดวกต่อการใช้งานได้เลย การสร้างโรงเรือนจะต้องมีส่วนประกอบดังนี้ การก่ออิฐบล็อกมีความสูง 15-20 เซนติเมตร พื้นภายในโรยด้วยทราย และกันตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์อันตรายจากภายนอก ก็จะทำให้สะดวกสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงโรงเรือนสามารถสร้างทั้งแบบติดพื้น และแบบเคลื่อนย้ายได้ ทั้งาสองแบบขึ้นอยู่ความสะดวก และความต้องการของผู้เลี้ยงแบบกรงจะมีการสร้างคล้ายกับโรงเรือนติดพื้นขนาดใหญ่  แต่แบบกรงจะมีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายได้ตามความสะดวก แบบกรงจะต้องยกพื้นกรงให้สูงจากดินประมาณ 25-30 เซนติเมตร

ถ้าเรามีโรงเรือนและเล้า เราก็จะต้องมีการทำความสะอาดสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง และฉีดพ้นยาฆ่าเชื้อกำจัดไร เดือนล่ะ 1 ครั้ง นอกจากนำมูลไก่แห้งไปร่อนผ่านตะแกรง แล้วนำมูลไก่ที่ร่อนไปทำปุ๋ยสำหรับพืชได้ ส่วนของทรายหมดสภาพให้เปลี่ยนทรายใหม่ เพราะทรายมีหน้าที่ช่วยการดูดซับได้ดี ลดความสกปรกติดที่ตัวไก่แจ้ได้ดี กรณีที่เราเห็นว่าภายในโรงเรือนมีไก่แจ้ที่ป่วย ให้ย้ายกรงไปฆ่าเชื้อแล้วตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์  ก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ 

อาหารไก่แจ้

การให้อาหารไก่แจ้เพื่อการดำรงชีพ  การให้ผลผลิตด้านเนื้อ ไข่ เป็นต้น ดังนั้นอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงดู โดยการให้อาหารไก่แจ้จะขึ้นกับอายุของไก่ การให้อาหารที่ดีมีคุณภาพจะทำให้สุขภาพไก่พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ ส่วนประกอบของอาหารตามหลักวิชาการที่ไก่แจ้ต้องได้รับ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ และน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกัน ได้รับคำแนะนำความรู้จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต เป็นอาหาร ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ถ้าหากอาหารส่วนนี้ได้รับมากเกินไปจะแรสพไปเป็นไขมัน แล้วนำไปสะสมส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถหาอาหารคาร์โบไฮเดรตได้จาก รำข้าว ข้าวดพด ข้าวฟ่าง และเมล็ดพืชต่างๆอีกหลายชนิด
  • โปรตีน เป็นอาหารที่ช่วยในการซ่อมแซม กล้ามเนื้อ กระดูก ขน เล็บ และส่วนต่างๆของร่างกาย หากได้รับเป็นจำนวนมากทำให้การเจริญเติมโตดี ส่วนนี้จะย่อยไปเป็นกรออะมิโนชนิดต่างๆ  สามารถหาแหล่งอาหารโปรตีนได้จากสัตว์ และพืชนานาชนิด
  • ไขมัน มีคุณสมบัติในการให้พลังงานความอบอุ่นับร่างกาย และมีหน้าที่ทำให้วิตามินที่ละลายได้ซึมเข้าสู่ร่างกาย สามารถหาแหล่งอาหารนี้ได้จากพวกคาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้
  • แร่ธาตุ โดยไก่แจ้ต้องได้รับทั้งหมดมี 13 ชนิด แร่ธาตุมีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ของร่างกาย ถ้าร่างกายไม่ได้รับแร่ธาตุตามสัดส่วนหรือไม่ได้รับเลยจะทำให้ภายในร่างกายไม่ปกติ ส่งผลให้พวกกระดูกงอหรืออ่อน เปลือกไข่นิ่ม ขนร่วง ขนหยอง เป็นต้น แร่ธาตุที่ไก่จะได้รับจะแตกต่างตามอายุ ถ้าเป็นลูกไก่ต้องการแร่ธาตุในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ส่วนพ่อแม่พันธุ์ช่วยเสริมสร้างเปลือกไข่ไม่นิ่ม รูปทรงไข่สวย
  • วิตามิน มีหน้าที่ช่วยให้ความเจริญเติมโต การย่อยอาหาร การผสมพันธุ์ การฟักไข่ ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคขาดสารอาหาร และต้านทานโรคได้ ถ้าหากไก่ไม่ได้รับวิตามินจะส่งให้ร่างกายผิดปกติ วิตามินที่ไก้จะได้รับ มีสองประเภท ประเภทละลายในน้ำมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค และประเภทละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี และซี
  • น้ำ เป็นส่วนสำคัญสิ่งแรกที่ไก่จะต้องได้รับตลอดเวลา เพราะน้ำมีหน้าที่ช่วยในการดูดซึมอาหาร ย่อยอาหาร ขับถ่ายของเสีย การสร้างไข่ และการควบคุมร่างกายให้อุณหภูมิอยู่ในสภาวะสมดุล
  • สำหรับอาหาร ที่ใช้เลี้ยงไก่แจ้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และสะดวก ปัจจุบันนิยมใช้อาหารสำเร็จรูป อาหารเสริม อาหารจำพวกเมล็ด เพราะได้ประโยชน์และคุณสมบัติครบถ้วน หาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลาด ส่วนของอาหารจำพวกเมล็ดพืชหาได้จากหญ้าสดนานาชนิดตามท้องที่
อาหารไก่แจ้
chaiwoot22.wordpress.com

การจัดการพ่อแม่พันธุ์ไก่แจ้

การจัดการพ่อแม่พันธุ์ เราต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งพ่อพันธุ์อายุ 7-8 เดือน ส่วนแม่พันธุ์อายุ 5 เดือนขึ้นไป สายพันธุ์ที่จะผสมต้องมีขาดรูปร่างที่เท่ากัน เป็นพันธุ์แท้ ในการผสมเราจะต้องมีตัวผู้ 1 ตัว ตัว เมีย 2 ตัว และได้รับอาหารเสริมเพื่อที่ให้เปลือกไข่แข็งแรง ควรเลี้ยงแยกตามสีอย่างชัดเจน

การดูแลพ่อแม่พันธุ์ไก่แจ้   

การดูแลพ่อแม่พันธ์ที่ดี ทำให้การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสุลูกอย่างใกล้เคียงและสมบูรณ์แบบ การเลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่สุขภาพร่างกาย สภาพแวดล้อมภายในกรงให้มีความสะอาดตลอดเวลา สามารถป้องกันการป่วยของไก่แจ้ได้ ส่วนการให้อาหารจะต้องแบ่งเป็นสองเวลา  เช้าและเย็น อาหารที่ไก่แจ้จะได้รับเป็นอาหารสำเร็จ อย่างสม่ำเสมอ และบำรุงด้วยพวกเมล็ดพืชอาหารผสม จะเตรียมภาชนะใส่น้ำไก่ตลอดเวลาหมั่นดูแลทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายเทน้ำทุกวัน นอกจากนั้นควรเล่นกับไก่แจ้และปล่อยให้ไก่แจ้มีความอิสระ ตามธรรมชาติ คุ้ยเขี่ยหากินตามลักษณะบุคลิกนิสัยของไก่พื้นเมือง วันล่ะ 1-2 ชั่วโมง  เพื่อให้ไก่ร่าเริง และมีความสุข

การผสมพันธุ์ไก่แจ้

ไก่แจ้ที่มีอายุ 6 เดือนจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ถึงจะเริ่มพร้อมในการสืบพันธุ์ โดยไก่แจ้ตัวเมียจะต้องมีอายุประมาณเจ็ดเดือน ส่วนไก่ตัวผู้จะต้องมีอายุประมาณหนึ่งปีขึ้นไป ถึงจะได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่สมบูรณ์แบบวิธีการคัดเลือดไก่พ่อแม่พันธุ์เราจะต้องเลือกไก่ที่มีร่างกายแข็งแรง ท่าทางคึกคักกระฉับกระเฉง หงอนมีสีแดงสดไม่ซีด ตาเป็นแววใส เหนียงเรียบร้อยสม่ำเสมอกัน  ขนเป็นมันเนียน หัวไหล่กว้าง หน้าอกกลโต หางเปิดบาน หางชัยแข็งตั้งตรงและขาสั้นใหญ่แข็งแรง กรณีที่ไก่แจ้พ่อแม่พันธุ์มีลักษณะอ่อนแอไม่สมบูรณ์จะต้องหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์อย่างเด็ดขาด ในการผสมพันธุ์จะต้องอาศัยประสบการณ์ รู้จักสังเกต แยะแยะลักษณะดีและไม่ดีของไก่แจ้ได้

วิธีการผสมพันธุ์ไก่แจ้

การผสมแบบสายเลือดเดียวกัน โดยการตั้งสายพันธุ์ขึ้นมาสองสาย มีบรรพบุรุษเดียวกัน เราแยกออกเป็นแต่ล่ะสาย จากนั้นเราผสมสายเลือดเดียวกันของแต่ล่ะสาย จนถึงรุ่นที่ 5 หรือ 6 จึงทำการสลับสายกัน การที่ให้ได้ไก่แจ้ดีที่สุดจะต้องมีอัตราส่วนตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 2 ตัว หรือ 4 ตัวก็ได้ การผสมพันธุ์คนเลี้ยงดุจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ เดียวจะเกินความผิดพลาดได้ หกลังจากการผสมพันธุ์แม่ไก่แจ้จะออกไข่สูงสุดไม่เกิน 15 ฟองต่อชุด แม่ไก่แจ้สามารถใช้เนแม่พันธุ์ได้ไม่เกิน 8 ปี ส่วนตัวผู้ใช้เป็นพ่อพัธุ์นานไม่เกิน 5 ปี ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับคนเลี้ยงดูที่จะตัดสินใจได้ตามความเหมาะ แต่จะต้องไม่เกินที่กำหนดเพราะจะทำให้ได้ผลผลิตที่น้อยและคุณภาพไม่สมบูรณืแบบผิดปกติทางร่างกาย

ผสมพันธุ์ไก่แจ้
www.sentangsedtee.com

การฟักไข่ของไก่แจ้

เป็นการทำให้ไข่มีเชื้อเจริญเติมโดจนฟักออกมาเป็นลูกไก่ที่สมบูรณ์และแข็งแรง ไข่ฟักที่เราได้จากพ่อแม่พันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างหรือเหมือนขึ้นอยู่กับปัจจัยการเก็บรักษาไข่ก่อนนำมาฟัก การกลับไข่  การส่องไข่ คุณภาพของเครื่องฟักไข่ การรมควันฆ่าเชื้อ การควบคุมอุณหภูมิของความชื้น และความสมบูรณ์ของพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก การฟักไข่มี 2 แบบ การฟักไข่ทางธรรมชาติ เราให้แม่ไก่แจ้ฟักและเลี้ยงดูแลด้วยตนเอง ส่วนการฟักไข่แบบทางวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องฟักไข่ วิธีนี้ได้ลูกไก่จำนวนมากสะดวกในการเลี้ยงดู และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การจัดการเลี้ยงดูไก่แจ้

การเลี้ยงดูไก่แจ้ระยะแรกเกิดถึง 2 สัปดาห์ ผู้เลี้ยงดูจะต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่ โดยใช้เครื่องกก หรือทำเป็นกล่องเล็กหรือใหญ่ตามความเหมาะสมของลูกไก่ ภายในแขวนหลลอดไฟขนาด 5-40 วัตต์ไว้ด้วย เตรียมน้ำและอาหารให้เพียงพอต่อจำนวนลูกไก่ตลอดเวลา อาหารที่ให้ผู้เลี้ยงให้ตามอายุของลูกไก่แจ้ ในหนึ่งวันควรให้ครั้งล่ะ 2 มื้อ แบ่งเป็นเช้าและเย็น ในช่วงแรกในการให้อาหารกับลูกไก่ใช้ถาดรองเพื่อป้องกันเชื้อโรค เมื่อระยะเวลาผ่านไปจะเห็นว่าลูกไก่มีการเจริญเติมโต เราจะต้องทำการเปลี่ยนกล่องให้กับลูกไก่ แล้วเปลี่ยนเป็นรางอาหาร โดยในแต่กล่องเราจะต้องคัดสรรขนาดสัดส่วนลูกไก่ให้เท่าๆกัน  จากนั้นสังเกตการเจริญเติมโตเพื่อเพิ่มอาหารให้เพียงพอตามขนาดของลูกไก่ หมั่นดูแลทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก เอาใจใส่ สังเกตดูบ่อยๆ จะได้ลูกไก่จำนวนเยอะ มีความสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้การเลี้ยงลูกไก่แจ้ซึ่งต้องเลี้ยงอยู่ในกล่อง 1-3 เดือน จะต้องกั้นด้วยมุ้งลวด หากลูกไก่โดนยุงกัด จะเป็นฝีดาษ ทำให้หงอนและหนังเสียรูป และไก่แจ้จะมีความสมบูรณ์เมื่ออายุ 8 เดือน ตัวผู้จะเริ่มผลัดขนครั้งแรกอายุ 1 ปี และตัวเมียประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นไก่แจ้จะผลัดขนทั้งหมดช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน อายุเฉลี่ยของไก่แจ้ ตัวผู้ไม่เกิน 7 ปี ตัวเมีย 8-9 ปี

ปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่แจ้

การเลี้ยงไก่แจ้มักจะพบปัญหาที่ตามมา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมีวิธีแก้และป้องกันได้ดังนี้

  • ปัญหาที่เกิดจากสภาพอากาศ
    ไก่แจ้จะชอบอากาศร้อน และไม่ชอบอากาศหนาวเย็น ถ้าหากอากาศหนาวไก่แจ้จะแสดงกริยาโดยการเกาะกลุ่มหรือกระจัดกระจาย มีวิธีแก้โดยการนำหลอดไฟมาแขวนไว้ตรงกลางกรง เพื่อความอบอุ่น และป้องกันโรคที่เกิดขึ้นตามฤดู
  • ปัญหาการตายของลูกไก่ระยะแรก
    ช่วงเปลี่ยนฤดูที่ทำให้ไก่แจ้ป่วย มีวิธีการป้องกันโดยผู้เลี้ยงดูให้อาหารเสริมสำหรับไก่แจ้ทุกรุ่น ช่วยในเรี่องสุขภาพร่างกายของไก่แจ้ และลักษณะภายในภายนอกดูสวยงาม บางครั้งการตายอาจเกิดจากการที่ลูกไก่จำนวนมากเหยียบกัน เบียดกัน แย่งกัน จะต้องแก้โดยสารจัดสรรลูกไก่แจ้ให้เหมาะสมขนาดกล่องและลูกไก่แต่ล่ะกล่องต้องขนาดสัดส่วนที่เท่ากัน
  • ปัญหาการติดโรคของไก่แจ้
    กรณีไก่แจ้ติดโรค จะทำให้ลูกไก่เกิดอาการผิดปกติ ดังนั้นเราจะมีวิธีแก้โดยป้องกันก่อนจะติดโรค หมั่นทำความสะอาดโรงเรือน และสังเกตไก่แจ้หากมีอาการป่วยให้แยกขังกรงเดี่ยว
  • ปัญหาการผสมแบบสายเลือดเดียวกัน
    จะเกิดความเสียหายต่างที่เกิดกับไก่แจ้ เช่น ร่างกายอ่อนแอ ขี้โรค ป่วยง่าย ตายง่าย เป็นต้น ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงการผสมแบบสายเลือดเดียวกัน
ปัญหาการเลี้ยงไก่แจ้
www.foodbevg.com

แหล่งอ้างอิง

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้