ตำลึงทอง ผักถอนพิษสุดเจ๋ง

ตำลึงทอง ภาษาอังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passion flower

ตำลึงทอง ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.

วงศ์ของตำลึงทอง: PASSIFLORACEAE

ชื่อท้องถิ่นของตำลึงทอง

ผักขี้หิด (เลย), รุ้งนก (เพชรบูรณ์), เงาะป่า (กาญจนบุรี), เถาเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท), ยันฮ้าง (อุบลราชธานี), เยี่ยววัว (อุดรธานี), ผักบ่วง (สกลนคร), หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์), เครือขนตาช้าง (ศรีษะเกษ), ตำลึงฝรั่ง ตำลึงทอง ผักขี้ริ้ว ห่อทอง (ชลบุรี), รกช้าง (ระนอง), หญ้ารกช้าง (พังงา), ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ)

ใบตำลึงทอง
https://www.hatyaifocus.com

ลักษณะของตำลึงทอง

ตำลึงทองหรือกะทกรกที่คนนิยมเรียกกัน เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง จัดเป็นไม้เถาเลื้อย เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของตำลึง มีมือสำหรับใช้ในการยึดเกาะ ทำให้ตำลึงทองมีความแข็งแรง สามารถมีอายุได้สูงสุดถึง 5 ปี นอกจากนี้ยังมีขนอยู่ในทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบ มีใบที่จัดอยู่ในประเภทใบเดี่ยว จะออกเรียงสลับกันไป ลักษณะของใบตำลึงทองจะคล้ายกับรูปหัวใจ ปลายใบจะแหลม บริเวณโคนใบจะเว้าแหว่ง ขอบใบจะเป็นแบบ 3 แฉก ใบจะมีสีน้ำตาล มีขนขึ้นทั้งสองด้าน ซึ่งที่ขนจะมียางเหนียว ดอกของตำลึงทองจะเป็นดอกประเภทดอกเดี่ยว ออกตามซอกของใบ ซึ่งดอกจะมีกลีบ 10 กลีบ กลีบด้ายนอกจะมีสีเขียวอ่อน  แต่ด้านในจะมีสีขาว มีกลีบเลี้ยงเป็นเส้นฝอย ที่ดอกของตำลึงทองจะมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสรตัวผู้ 5-8 ก้าน และเกสรตัวเมียจะมีประมาณ 3-4 ก้าน ผลของตำลึงทองจะมีรูปร่างลักษณะที่เป็นรูปทรงกลม ผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน แต่เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอมส้ม มีใบประดับที่เป็นเส้นฝอยคลุมอยู่ทั่วผล ภายในของผลตำลึงทองจะมีเนื้อหุ้ม ซึ่งภายในจะมีเมล็ดสีใสและเนื้อมีความฉ่ำน้ำ คล้ายกับเม็ดแมงลักที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว ผลตำลึงทองจะมีรสที่หวานแบบเฝื่อนๆฝาดๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เฉพาะของตำลึงทอง ซึ่งผลมักจะออกในช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งตำลึงทองมีข้อควรระวังในการรับประทาน เนื่องจากเป็นพืชที่ทำให้มีอาการมึนเมาและเป็นพิษ ควรจะผ่านการต้ม ลวก ผัด ทอดก่อนรับประทาน ซึ่งตำลึงทอง เมนูที่ยอดนิยม ได้แก่ ปีกไก่ทอดตำลึงทอง ก๋วยเตี๋ยวหมูตำลึงทอง เป็นต้น

ลูกตำลึงทอง
http://loklilub.blogspot.com

วิธีการปลูกของตำลึงทอง

  1. เตรียมเมล็ดพันธุ์ของตำลึงทองไว้ ซึ่งควรเป็นเมล็ดที่แก่จัด 
  2. เตรียมพื้นที่สำหรับปลูก โดยนิยมปลูกตามพื้นดิน ขอบไร่ ชายนา ที่รกร้าง รั้วต่าง เพราะตำลึงทองจะชอบเลื้อยพันกิ่งไปเรื่อยๆ
  3. นำเมล็ดที่เตรียมไว้ไปโปรยรอบๆบริเวณที่เตรียมไว้ จากนั้นนำดินมาปิดให้มิดชิด เพื่อรอการเจริญเติบโตของต้นตำลึงทอง
  4. ดูแลบำรุงต้นตำลึงทอง โดยการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยบ้างในบางครั้ง ให้ต้นตำลึงทองได้เจอแสงแดดพอประปราย แต่เนื่องด้วยเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ง่าย จึงไม่ต้องได้รับการดูแลไม่พิถีพิถันมากมาย
รากตำลึงทอง

สรรพคุณตำลึงทอง

  • มักใช้เป็นสมุนไพรท้องถิ่นที่นิยมนำมารับประทานสำหรับเป็นยารักษาภายในและทาหรือพอกสำหรับรักษาภายนอก ซึ่งสรรพคุณของตำลึงทองมีอยู่มาก เช่น เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง รากตำลึงทองที่สดและรากที่ผ่านการตากแดดมาแล้ว ซึ่งนำรากมาต้มแล้วนำมาเป็นน้ำชา เพื่อทำให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า สดชื่นมากขึ้น เนื้อไม้ใช้เป็นยาควบคุมธาตุภายในร่างกาย ผลที่ดิบของตำลึงทองจะมีรสชาติที่เอกลักษณ์ นั่นคือ เมาเบื่อ แต่ผลที่สุกแล้วของตำลึงทองจะมีรสชาติที่หวานเย็น เหมาสำหรับนำไปทำเป็นยาที่ช่วยบำรุงปอด ทุกส่วนของตำลึงทองมีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยถอนพิษจากของมึนเมาทุกชนิด สามารถลดความดันโลหิตที่สูงลงได้ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งให้นำใบตำลึงทองมาตำหรือบด จากนั้นนำมาพอกหรือประคบบริเวณศีรษะ แก้ไขจับสั่น ช่วยแก้เหน็บชา ซึ่งจะต้องนำมาสับ แล้วไปตากแดด จากนั้นนำมาต้ม เพื่อกินน้ำ สามารถช่วยแก้กามโรคได้ด้วย 
  • ส่วนของยอดทั้งที่อ่อนและแก่ และผลทั้งสุกและแก่ รวมไปถึงรกหุ้ม ใช้เป็นอาหารที่สามารถนำมารับประทานสดได้ หรือนำมาต้ม ลวก แล้วมาจิ้มกับน้ำพริกได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำลูกตำลึงทองมาปั่นเป็นเครื่องดื่มได้อีกด้วย
  • ตำลึงทองยังเป็นส่วนประกอบของการทำผลิตภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงได้ด้วย โดยเฉพาะด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารในตำลึงทองจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของด้วงถั่วเขียวได้
  • สำหรับตำลึงทองที่เหลือจากการรับประทานหรือใช้งานแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นปุ๋ยหมักได้อีกด้วย เนื่องจากต้นตำลึงทองมีกลิ่นที่เฉพาะนั่นคือ กลิ่นเหม็นเขียว ช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์หรือศัตรูต่างๆมาทำลายแปลงพืชผักของเราเอง.
สรรพคุณ ตำลึงทอง
https://medthai.com

ที่มา

http://www2.phrae.mju.ac.th

http://area-based.lpru.ac.th

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้