ทิลแลนเซีย (Tillandsia) แค่ได้ยินชื่อก็รู้แล้วว่าเป็นต้นไม้จากต่างประเทศ โดยเราสามารถจำกัดความได้ว่าต้นทิลแลนเซียเป็นพันธุ์พืชชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์และแต่ละสายพันธุ์ยังสามารถแยกออกไปได้อีก โดยคนไทยมักจะเรียกว่า “สับปะรดสี” เพราะด้วยรูปร่างที่คล้ายกัน ทิลแลนด์เซียอาจจะเปรียบเทียบว่าเป็นสับปะรดอากาศ แต่ทั้งสองต้นก็ไม่ใช่ต้นที่มีลักษณะเหมือนกันมากนัก เพียงแต่แค่อยู่ในวงศ์เดี่ยวกันเท่านั้น แต่ต้นทิลแลนเซียยังมีความน่าสนใจอีกมาก ที่ kaset.today อยากจะนำความรู้ดีๆที่คุณไม่เคบรู้มาบอก
และด้วยรูปลักษณ์และสีที่มีหลากหลายทำให้เกิดกลุ่มคนไม่น้อยเลยที่ตกหลุมรัก ทิลแลนเซีย ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีมากกว่า 600 ชนิดก็ตาม แต่เราก็สามารถจำแนกหลักๆได้ 18 ชนิด ที่เราเชื่อว่าคุณต้องเคยเห็น แต่คงมีน้อยคนที่จะรู้ว่ามันมีชื่ออะไรบ้าง เพราะเวลาเราไปซื้อเราก็จะดูแต่ลักษณะและสีที่เราชอบเท่านั้น และ kaset.today ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเลี้ยงและดูแลให้ต้อง ทิลแลนเซีย ของคุณโตไว ออกดอก และมีสีสวยอีกด้วย และถ้าคุณไม่อยากพลาดก็ต้องอ่านให้จบนะ
ข้อมูลทั่วไปของทิลแลนเซีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Tillandsia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tillandsia Planch
ชื่อสกุล : bromeliads
ชื่อวงศ์ : Bromeliaceae
ลักษณะโดยทั่วไปของทิลแลนเซีย
- ต้น
เป็นลักษณะไม้อิงอาศัย (epiphyte) ความสูงประมาณ 8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร สามารถมีอายุอยู่ได้หลายปี และในต่างประเทศพบว่ามีอายุได้ถึง 20 ปี
- ราก
มีอยู่สองประเภท คือ แบบรากอากาศสำหรับการเกาะยึดและแบบรากระบบที่ยังหาสารอาหารอยู่
- ลำต้น
มีลักษณะสั้นและทอดเลี้อยกับแตกกิ่งห้อย หรือมีการแตกหน่อออกมาด้านข้าง
- ใบ
เป็นลักษณะใบเดี่ยวที่เรียงกันแบบเวียนในรูปแถบแบน ส่วนปลายใบจะแหลม โคนใบมีกาบหุ้มลำต้น ขอบใบจะเรียบๆ แผ่นใบมีความหนาและแข็ง มีส่วนโครงสร้างเล็กๆ ที่ปกคลุมใบมีสีเทาเงิน เรียกว่า ไตรโคม (Trichome) โดยอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ได้อธิบายว่าไตรโคมทำหน้าที่หาอาหาร ดูดซับสารอาหารที่อยู่ในละอองน้ำ เข้าสู่ใบและลำต้น นอกจากนี้ ไตรโคมยังมีหน้าที่สะท้อนแสงกับป้องกันการสูญเสียน้ำ จึงเรียกได้ว่า ไตรโคมเปรียบเสมือนอวัยวะสำคัญสำหรับช่วยในการปรับตัวต่อสภาพความเป็นอยู่ ทั้งนี้เมื่อออกดอก ส่วนกาบใบจะมีการเปลี่ยนเป็นสีแดง สีชมพู หรือสีม่วง
เกร็ดน่ารู้ ! จากการศึกษาจากอุทยานหลวงราชพฤกษ์ได้กล่าวว่า "ด้วยคุณสมบัติการเป็นนักดูดซับของทิลแลนด์เซียนั้น จึงมีการใช้ทิลแลนด์เซียในการเป็นพืชดูดซับฝุ่น เป็นดรรชนีชีวภาพ (bio-monitors) ที่สามารถตรวจสอบโลหะหนักที่สะสมในบรรยากาศ จากมลพิษต่างๆ ที่ทิลแลนด์เซียสะสมและเก็บกักไว้ (Wannaz and Pignata, 2006) โดยเฉพาะเคราฤาษี (Tillandsia usneoides) หรือ Spanish moss (Georgina et al.,2015) ทิลแลนด์เซียที่ประเทศไทยเราก็มีการปลูกเลี้ยงแพร่หลาย"
- ดอก
จะออกเป็นช่อ โดยออกจากส่วนกึ่งกลางของลำต้น ดอกเป็นรูปหลอดมีสีม่วง แดง ชมพู เหลือง หรือ ส้ม และดอกจะออกในช่วงฤดูหนาว
ถิ่งกำเนิดทิลแลนเซีย
ต้นไม้นี้มีการกระจายพันธุ์อยู่ที่บริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ทางรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และหมู่เกาะเวสต์อินดีส ในทะเลแคริบเบียน และไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ทั้งทวีป โดยในการให้ชื่อเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้แก่นายแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวฟินแลนด์ ชื่อ เอลเลียส ทิลแลนด์ส (Elias Tillands) ผู้มีชีวิตอยู่ในปี ค.ศ.1640 ถึง 1693
ชนิดและรูปทรงของทิลแลนเซียในแบบต่างๆ
- Tillandsia Ionanatha
- Tillandsia Usneoides
- Tillandsia Caput-medusae
- Tillandsia andreana
- Tillandsia xerographica
- Tillandsia maxima
- Tillandsia cyanea
- Tillandsia aeranthos
- Tillandsia bulbosa
- Tillandsia capitata “ peach “
- Tillandsia cotton candy
- Tillandsia didisticha
- Tillandsia fuchsii v.gracilis
- Tillandsia funckiana
- Tillandsia gardneri
- Tillandsia ionantha
- Tillandsia stricta
- Tillandsia chiapensis
การขยายพันธุ์ทิลแลนเซีย
- การเพาะเมล็ด
- การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- การแยกหน่อ
การแยกหน่อเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว เราสามารถดึกหน่อที่แตกออกมาจากตัวแม่ แล้วนำไปปลูก โดยไม่ต้องใช้ดิน และสามารถนำไปห้อยกับวางไว้บนภาชนะหรือวัสดุแบบใดก็ได้ อาทิเช่น นำไปวางหรือเกาะบนขอนไม้ เป็นต้น
เกร็ดน่ารู้ ! ในบางสายพันธุ์ของทิลแลนเซียในขณะที่ตัวต้นแม่กำลังเจริญเติบโต มันก็จะแตกหน่อต้นใหม่ออกมา แล้วไม่ช้าต้นแม่ก็จะมีดอก แล้วเมื่อดอกโรยไป ต้นแม่ก็จะค่อยๆเหี่ยวตายไป นั้นจึงเป็นเหตุในนักปลูกบางคนนิยามต้นทิลแลนเซียว่าเป็น "ไม้ล้มลุก" แต่เหล่าผู้อ่านไม่ต้องกังวลไปเพราะต้นทิลแลนเซียส่วนใหญ่จะมีอายุยืนยาวได้หลายปี ซึ่งมีหลักฐานจากต้นทิลแลนเซียที่แตกหน่อยออกมาจนมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนกลมใหญ่ ซึ่งมีอายุ 20 ปีเลยทีเดียว
(Mexico-20 year olds specimen)
การปลูกและดูแลทิลแลนเซีย
การปลูก
- แสงแดด
ตามธรรมชาติแล้ว ต้นทิลแลนเซีย เป็นต้นไม้ที่ดูแลง่ายและทนแล้ง แต่ไม่ควรจะให้ขาดน้ำเป็นเวลานาน ตำแหน่งที่ปลูกควรจะมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีแสงแดดส่องถึง
- น้ำ
การรดน้ำ สามารถรดน้ำได้ทุกวัน หรือจะใช้สเปรย์ฉีดพ่นน้ำให้ชุ่ม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ได้ ในการรดน้ำขอให้สังเกตรากด้วยทุกครั้ง หากมีการรดน้ำที่มากจนเกินไปอาจจะทำให้มีเชื้อราที่ราก แล้วต้นเน่าตายได้
- วัสดุปลูก
โดยธรรมชาติของทิลแลนเซียเป็น Air plant จึงไม่จำเป็นต้องใช้ดินในการปลูก แต่เราสามารถใช้วัสดุอื่นอย่างเช่น ขอนไม้ หรือหินก่อนใหญ่ เพื่อในทิลแลนเซียได้ยึดเกาะ และการนำหน่อที่พึ่งแยกตัวออกจากต้นแม่มาวางบนขอนไม้ก็ถือเป็นวิธีที่ทำให้ต้นทิลแลนเซียโตไวขึ้น และยังเป็นหนึ่งในวิธีขยายพันธุ์ที่ต่างประเทศนิยมใช้กัน
- ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยกล้วยไม้แบบเกล็ด 25-5-5 โดยนำไปละลายน้ำแบบเจือจาง แล้วใช้สเปรย์ฉีดทุก 1 เดือน หรือ 10 วันต่อครั้ง ในเรื่องโรคภัย
การดูแล
- โรค
ต้นทิลแลนเซีย ไม่ค่อยจะมีโรครบกวนนัก แต่จะมีปัญหาที่เกิดจากพวกแมลงจำพวก หนอน หอยทาก แมลงชักใย และเพลี้ย ซึ่งเป็นตัวทำลายต้นไม้ชนิดนี้ หากต้นได้รับการรบกวนก็สามารถใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นได้
- สถานที่ ที่เหมาะสม
1. ถ้าปลูกหรือแขวนไว้กลางแจ้ง ควรจะปลูกพืชพุ่มเตี้ยไว้ด้านล่าง สำหรับเพิ่มความชื้นและช่วยลดอุณหภูมิในอากาศ
2. ควรจะหลีกเลี่ยงการปลูกหรือแขวนกลางแจ้งเหนือพื้นคอนกรีต เพราะพื้นจะมีการสะสมความร้อนมากเกินไป แล้วจะทำให้ต้นไม้นี้สามารถขาดน้ำและตายได้ (หมายเหตุ : ในการปลูกต้นทิลแลนเซีย แสงมีบทบาทค่อนข้างจะสำคัญมาก ฉะนั้นตำแหน่งที่ปลูกควรจะได้รับแสงแดดประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์)
เกร็ดน่ารู้ ! วางยังให้ให้ต้นโตไวและไม่เน่า! จากการที่เราไปศึกษาวิธีการปลูกของเหล่าชาวสวนทิลแลนเซีย ก็ได้ข้อมูลดีที่อยากจะมาบอกเหล่า ให้นักปลูกที่กำลังประสบปัญหาในการเลี้ยงทิลแลนเซีย เช่น ทำไมยิ่งปลูกคนยิ่งเล็กลง, ทำไมปลูกแล้วโคนเริ่มนิ่ม, ทำไมแลูปไปเรื่อยๆและที่ลำต้นและเส้นใบจะยาวและกลมใหญ่ขึ้นมันกลับเหี่ยวแล้วใบเหลือง, แล้วเมื่อไรทิลแลนเซียของเราจะออกดอก เราแน่ใจว่าคุณต้องเจอปัญหาเหล่านี้แน่นอนเราจึงมัวิธีง่ายๆ ราคาประหยัดมาฝาก ซึ่งสิ่งที่คุณต้องมาคือ 1. ตะกร้าที่มีลักษณะเป็นถาด มีช่องรอบๆ 2. เชือกอะไรก็ได้ หรือชั้งวางของสูงๆ 3. ปุ๋ยกล้วยไม้แบบเกล็ด วิธีง่ายๆ คือ ละลายปุ๋ยเกล็ดในน้ำ และแช่ต้นทิลแลนเซียลงไป 1-2 นาที แล้วเอามาผึ่งในที่ร่ม ต่อไปให้เอาเชือกร้อยตะกร้า แล้วเอาไปผูกกับคาน ให้ตะกร้าห้อยกลางอากาศ หรือถ้าคุณมีชั้นวางสูงก็สามารถวางตะกร้าได้เลย ต้องทำให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด ท้ายสุดเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณต้องนำต้นทิลแลนเซียไปจัดวางในตะกร้าที่เตรียมเอาไว้ วางให้เป็นแถวและห่างกันให้เหมาะสม พยายามไม่ให้ใบเกยกันมากเกินไป อาจจะฉีกยากันราและยาไล่แมลงที่เป็นแบบน้ำหมักสมุนไพร หรือ"ปุ๋ยสาหร่าย" ที่เป็นผงสีดำ เอาไปละลายน้ำเล็กน้อยแล้วฉีดพ่น และพยายามให้โดนแสงแดดทั้งวันแต่ให้เป็นแสงอ่อนๆ นั้นจะทำให้ได้สีที่สดใสมากขึ้น เพียงเท่านี้ต้นทิลแลนเซียของคุณก็จะโตวันโตคืนเลยทีเดียว
ทิลแลนเซียมีประโยชน์อะไรบ้าง
- ไม้ประดับ
สามารถปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับในบ้านหรือใช้จัดสวน ซึ่งจะสามารถเข้าได้กับการจัดสวนแบบเมืองร้อนและสวนโมเดิร์นสไตล์
- ไม้ฝอกอากาศ
นอกจากนี้ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ได้บอกว่า ต้นทิลแลนเซีย มีคุณสมบัติในด้านการเป็นนักดูดซับฝุ่น โดยยังสามารถเป็น “ดรรชนีชีวภาพ (Bio-monitors)” สามารถตรวจสอบโลหะหนักที่สะสมอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งเกิดขึ้นจากมลพิษต่างๆ ได้
ทิลแลนเซียมีราคาเท่าไร
ต้นทิลแลนเซียนั้นมีหลากหลายราคา มีตั้งแต่ต้นละ 5 บาท ไปจนถึงต้นละหลายพันบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะชนิดรวมถึงสีดอก และขนาด ยิ่งปลูกมานานก็ยิ่งแพง
แหล่งอ้างอิง